ค้นเจอ 165 รายการ

สัมโภคกาย

หมายถึง[สำโพกคะ-] น. พระกายของพระพุทธเจ้าอันเป็นทิพยภาวะ มีรัศมีรุ่งเรืองแผ่ซ่านทั่วไป และจะปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ มหาสัตว์ แม้จนบัดนี้. (ส.).

อสัตถพฤกษ์,อัสสัตถพฤกษ์

หมายถึง[อะสัดถะพฺรึก, อัดสัดถะพฺรึก] น. ชื่อต้นไม้ที่พระโคตมพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นแล้วได้ตรัสรู้ เรียกว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ต้นโพธิ์.

มฤคทายวัน

หมายถึง[มะรึกคะทายะ-, มะรึกคะทายยะ-] น. ชื่อป่าที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา; ป่าเป็นที่ให้อภัยแก่เนื้อ. (ป. มิคทายวน; ส. มฺฤค + ทาย + วน).

ไตรปิฎก

หมายถึง[-ปิดก] น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ตรีปิฎก ก็ว่า.

ปรินิพพาน

หมายถึง[ปะรินิบพาน] น. การดับรอบ, การดับสนิท, การดับโดยไม่เหลือ; เรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์. (ป.; ส. ปรินิรฺวาณ).

สารถี

หมายถึง[สาระถี] น. คนขับรถ, คนบังคับม้า, โดยปริยายหมายความว่า ผู้บังคับหรือฝึกหัด ในความว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก. (ป., ส. สารถิ).

นวังคสัตถุศาสน์

หมายถึง[นะวังคะสัดถุสาด] น. คำสอนของพระศาสดา คือ พระพุทธเจ้า มีองค์ ๙ คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ. (ป.).

บริวาร

หมายถึง[บอริวาน] น. ผู้แวดล้อมหรือผู้ติดตาม เช่น พระพุทธเจ้ามีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร, สิ่งที่เป็นส่วนประกอบหรือสมทบสิ่งอื่นที่เป็นประธาน เช่น บริวารกฐิน. ว. ที่แวดล้อม เช่น ดาวบริวาร. (ป., ส. ปริวาร).

ตรีปิฎก

หมายถึงน. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่งเรียกว่า ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์, ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).

สิทธัตถะ

หมายถึงผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว

เอกังสพยากรณ์

หมายถึง[-สะพะยากอน] น. “การพยากรณ์โดยส่วนเดียว” หมายถึง การพยากรณ์เด็ดขาดเพียงสถานเดียวโดยไม่มีข้อแม้ เช่น พราหมณ์โกณฑัญญะพยากรณ์สิทธัตถราชกุมารว่าจะต้องออกบวชและตรัสรู้เป็นศาสดาเอกของโลกอย่างแน่นอน จัดเป็น เอกังสพยากรณ์, การตอบปัญหาที่ผู้ถามถามอย่างชัดเจน สามารถตอบได้อย่างแจ่มแจ้งทันที.

พระเจ้า

หมายถึงน. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง. (กำสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คำนำหน้าพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านาย เช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ