ค้นเจอ 1,216 รายการ

พูดคล่องเหมือนล่องน้ำ

หมายถึง(สำ) ก. พูดไม่ติดขัด เช่น สารพัดพูดคล่องเหมือนล่องนํ้า. (ไกรทอง), พูดคล่องเป็นล่องนํ้า ก็ว่า.

ขลึง

หมายถึง[ขฺลึง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ว. เล่น เช่น พูดขลึง ว่า พูดเล่น.

เอื้อนอรรถ,เอื้อนเอ่ย,เอื้อนโอฐ,เอื้อนโอฐ

หมายถึง(กลอน) ก. ออกปากพูด, พูดข้อความออกมา, มักใช้แก่กิริยาที่ทำทีอิดเอื้อนไม่ใคร่พูดออกมาง่าย ๆ.

ปากหอยปากปู

หมายถึงว. ชอบนินทาเล็กนินทาน้อย; ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย).

ข้า

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด พูดกับผู้ที่เสมอกันอย่างเป็นกันเองหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

โยกโย้

หมายถึงก. อาการที่พูดหรือทำพิโยกพิเกน เช่น กว่าจะตกลงกันได้พูดโยกโย้อยู่นาน, โยก ก็ว่า.

ลิ้นอ่อน

หมายถึงว. อาการที่พูดออกสำเนียงได้ชัดเจน, อาการที่พูดภาษาอื่นได้ง่าย.

เสียงกร้าว

หมายถึงว. อาการที่พูดด้วยเสียงแข็งกระด้าง เช่น เขาพูดเสียงกร้าว ไม่ยำเกรงใคร.

ขอดค่อน

หมายถึงก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, ค่อนขอด ก็ว่า.

เก๊

หมายถึงว. ปลอมหรือเลียนแบบเพื่อให้หลงผิดว่าเป็นของแท้, ไม่ใช่ของแท้, ไม่ใช่ของจริง, โดยปริยายหมายความว่าไม่มีราคา, ใช้การไม่ได้. (จ.).

วิสามัญ

หมายถึงว. ไม่ใช่ธรรมดา, ไม่ใช่สามัญ, เช่น ข้าราชการวิสามัญ สมาชิกวิสามัญ ประชุมสมัยวิสามัญ, พิเศษเฉพาะเรื่อง เช่น คณะกรรมาธิการวิสามัญ.

เกราะ

หมายถึง[เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ