ค้นเจอ 63 รายการ

จิตกึ่งสำนึก

หมายถึงน. ภาวะที่จิตไม่ค่อยรู้สึกตัว เมื่อปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้น แต่ไม่รู้ตัวเต็มที่. (อ. semiconscious).

อ่าง

หมายถึงว. อาการที่พูดไม่ใคร่ออกทันใจ คือกว่าจะพูดได้แต่ละคำต้องยํ้าคำต้นอยู่นานจึงพูดต่อไปได้ เป็นอาการประจำบางคน เรียกว่า เป็นอ่าง หรือ พูดติดอ่าง.

ฟันฟาง

หมายถึงน. ฟาง, ฟันที่เข้าใจว่าขึ้นแทนฟันแท้ที่หักไป, ฟัน เช่น ฟันฟางไม่ค่อยดี กินของเหนียวของแข็งไม่ได้.

ป่าใส

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ป่าไม้อ่อน, ป่าซึ่งได้ถางทำไร่มาแล้ว และมีไม้รุ่นใหม่เกิดขึ้น ซึ่งโดยมากมักเป็นไม้ชนิดขึ้นเร็ว เนื้อไม่ใคร่แข็ง.

หลัว,หลัว,หลัว ๆ

หมายถึง[หฺลัว] ว. มัว, ไม่แจ่ม, ไม่กระจ่าง, เช่น ตอนเช้าใกล้สว่าง อากาศยังหลัว ๆ อยู่ มองอะไรไม่ค่อยชัด, ใช้ว่า สลัว ก็มี.

หนืด

หมายถึงว. อาการของสิ่งของที่เหนียวจนดึงไม่ใคร่จะออก เรียกว่า เหนียวหนืด, โดยปริยายหมายถึงตระหนี่มาก. (ภูมิ) น. เรียกหินที่อยู่ในสภาพหนืดใต้เปลือกโลกว่า หินหนืด. (อ. magma).

ระหองระแหง

หมายถึงก. บาดหมางกันเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ปรองดองกัน, เช่น ผัวเมียระหองระแหงกันอยู่เสมอ. ว. ผิดใจกันเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ใคร่ถูกกัน, เช่น เขามีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เรื่อย.

ตาถั่ว

หมายถึงน. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดำ ทำให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยายหมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว.

มิ

หมายถึงก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).

ปากเบา

หมายถึงก. พูดได้เร็ว (ใช้แก่เด็กที่สอนพูด); พูดโดยไม่ยั้งคิด. น. เรียกยุงที่กัดไม่ค่อยจะรู้สึกเจ็บว่า ยุงปากเบา.

ฉก

หมายถึงน. ชื่อปาล์มชนิด Arenga westerhoutii Griff. วงศ์ Palmae ขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ใบด้านล่างเป็นคราบสีเทา ไม่ใคร่หักหรือพับ จั่นเป็นพวงห้อย ออกผลเป็นทะลายใหญ่, รังกับ หรือ รังไก่ ก็เรียก.

ซึม

หมายถึงก. กิริยาของนํ้าหรือของเหลวที่ไหลไปตามรูเล็ก ๆ อย่างช้า ๆ เช่น เหงื่อซึม นํ้าซึม, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยางรถซึม. ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ