ค้นเจอ 106 รายการ

จตุปาริสุทธิศีล

หมายถึง[จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).

อินทราภิเษก

หมายถึง[อินทฺรา-] น. เรียกลักษณะพิเศษ ๓ ประการ คือ ๑. พระอินทร์นำเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์มาถวาย เมื่อจะได้ราชสมบัติ ๒. เสี่ยงราชรถมาจดฝ่าพระบาท และ ๓. เหาะเอาฉัตรทิพย์มากางกั้น; การที่พระเจ้าแผ่นดินทำพิธีราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อปราบพระเจ้าแผ่นดินอื่นให้อยู่ในอำนาจได้มาก เพื่อยกพระองค์ขึ้นเป็นใหญ่เหนือพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย.

สมาคม

หมายถึง[สะมา-] น. การประชุม, การเข้าร่วมพวกร่วมคณะ, การคบค้า; แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า; (กฎ) นิติบุคคลที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน สมาคมต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (ป., ส.). ก. คบค้า, คบหา, เช่น อย่าสมาคมกับคนพาล ให้สมาคมกับนักปราชญ์.

โคบอลต์

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ °ซ. ใช้ประโยชน์นำไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มีสมบัติพิเศษบางประการ เช่น ผสมกับเหล็กทำให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนำไปทำเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกำลังมากเป็นพิเศษ ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์เป็นตัวให้สีนํ้าเงิน. (อ. cobalt).

จาตุรงคสันนิบาต

หมายถึงน. การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อมฆา) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูป ประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมวันนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, นับเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา, คำสามัญว่า มาฆบูชา. (ป., ส.).

ที่ราชพัสดุ

หมายถึง(กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหาริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ.

อัตราส่วน

หมายถึงน. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุดบางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วนไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).

ฉัพพรรณรังสี

หมายถึง[ฉับพันนะ-] (แบบ) น. รัศมี ๖ ประการ คือ ๑. นีล เขียวเหมือนดอกอัญชัน ๒. ปีต เหลืองเหมือนหรดาลทอง ๓. โลหิต แดงเหมือนตะวันอ่อน ๔. โอทาต ขาวเหมือนแผ่นเงิน ๕. มัญเชฐ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่ ๖. ประภัสสร เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก. (ปฐมสมโพธิ). (ป. ฉพฺพณฺณรํสี).

มาฆบูชา

หมายถึงน. การทำบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญเดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับเอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. (ป. มาฆปูชา).

อุปกรณ์

หมายถึง[อุปะกอน, อุบปะกอน] น. เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่องประกอบ; (กฎ) สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปรกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดดูแล ใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น. (ป., ส.).

ทศพิธราชธรรม

หมายถึงน. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรมประจำพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน – การให้ ๒. ศีล – การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ – ความซื่อตรง ๕. มัททวะ – ความอ่อนโยน ๖. ตบะ – การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ – ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ – ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.

พล,พล-

หมายถึง[พน, พนละ-, พะละ-] น. กำลัง, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็นกำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตำรวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ