ค้นเจอ 229 รายการ

มะม่วงหิมพานต์

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นชนิด Anacardium occidentale L. ในวงศ์ Anacardiaceae ผลรูปคล้ายไต เปลือกแข็ง มีเมล็ดอยู่ภายใน คั่วแล้วกินได้ ยางเป็นพิษ ก้านผลอวบนํ้า ลักษณะคล้ายผลชมพู่, คนทั่ว ๆ ไปมักเข้าใจว่าก้านผลนี้คือ ผล ส่วนผลรูปคล้ายไตคือ เมล็ด.

เอา

หมายถึงก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นำ, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทำเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสำคัญ เช่น เจรจาเอาถ้อยคำ เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คำใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคำได้. ว. เมื่อใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทำต่อเนื่องกัน เช่น กินเอา ๆ.

ท้อง

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายด้านหน้า ตั้งแต่ลิ้นปี่จนถึงบริเวณต้นขา มีสะดืออยู่ตรงกลาง มีกระเพาะและไส้พุงอยู่ภายใน; ครรภ์ เช่น น้องร่วมท้อง; พื้นที่หรือบริเวณที่กว้างใหญ่ เช่น ท้องนํ้า ท้องฟ้า ท้องทุ่ง ท้องไร่ ท้องนา ท้องถนน; ส่วนที่มีลักษณะโค้ง เช่น ท้องแขน ท้องน่อง ท้องเรือ ท้องร่อง. ก. มีลูกอยู่ในท้อง, ตั้งครรภ์.

จุดบอด

หมายถึงน. บริเวณที่เครื่องมือสื่อสารรับสัญญาณได้ไม่ชัด, บริเวณหลังลูกตาที่ไม่รับแสง, บริเวณที่ควรจะมองเห็นแต่ไม่สามารถมองเห็นได้ เช่น ทางโค้งนี้มีจุดบอด ทำให้เกิดอุบัติเหตุรถชนกันบ่อย ๆ, จุดของปัญหาที่ไม่สามารถตัดสินใจหรือแยกแยะได้อย่างชัดเจนอาจจะเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสภาวะที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้.

แกล้ง

หมายถึง[แกฺล้ง] ก. ทำให้เดือดร้อนรำคาญ เช่น เขาแกล้งฉัน, แสร้ง เช่น เขาแกล้งทำเป็นปวดฟัน, จงใจทำ พูด หรือแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เขาเสียหาย อาย เดือดร้อน ขัดข้อง เข้าใจผิด เป็นต้น เช่น ข้าพเจ้าไม่ได้ทำผิดเลยแต่เขาแกล้งใส่ร้าย; (โบ) ตั้งใจ, จงใจ, เช่น แกล้งประกาศแก่สงฆ์. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).

เอย,เอย,เอ่ย,เอ่ย

หมายถึงคำกล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้ายคำกลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).

โอ้

หมายถึง(กลอน) อ. คำในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคยเลยจะห่างเหเสนหา. (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต. (อิเหนา). น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า โอ้ เช่น โอ้ปี่ โอ้ร่าย โอ้โลม.

สำคัญ

หมายถึงว. เป็นพิเศษกว่าธรรมดา เช่น เรื่องสำคัญ, มีคุณค่า เช่น ของสำคัญ, มีชื่อเสียง เช่น คนสำคัญ; ควรกำหนดจดจำ เช่น หัวข้อสำคัญ. ก. เข้าใจ เช่น สำคัญตนผิด สำคัญว่าเชือกเป็นงู, คะเน, คาดว่า, เช่น ลงทุนไปแล้วก็สำคัญว่าจะได้กำไรมาก. น. เครื่องหมาย, เครื่องจดจำ, เช่น ถือหลักเขตเป็นสำคัญ ให้ไว้เป็นสำคัญ ประทับตราบัวแก้วไว้เป็นสำคัญ.

สมมต,สมมติ,สมมติ-,สมมุติ,สมมุติ-

หมายถึง[สมมด, สมมด, สมมดติ-, สมมุด, สมมุดติ-] ก. รู้สึกนึกเอาว่า เช่น สมมติให้ตุ๊กตาเป็นน้อง. สัน. ต่างว่า, ถือเอาว่า, เช่น สมมุติว่าได้มรดกสิบล้าน จะบริจาคช่วยคนยากจน สมมุติว่าถูกสลากกินแบ่งรางวัลที่ ๑ จะไปเที่ยวรอบโลก. ว. ที่ยอมรับตกลงกันเองโดยปริยาย โดยไม่คำนึงถึงสภาพที่แท้จริง เช่น สมมติเทพ.

ไอ้

หมายถึงน. คำประกอบคำอื่นบอกให้รู้ว่าเป็นเพศชายหรือสัตว์ตัวผู้ เช่น ไอ้หนุ่ม ไอ้ด่าง, คำประกอบหน้าชื่อผู้ชายที่มีฐานะตํ่ากว่า อย่างนายเรียกคนใช้, คำประกอบหน้าชื่อเพื่อนฝูงแสดงว่ามีความสนิทสนมมาก มักใช้กันในหมู่เด็กผู้ชาย; คำใช้ประกอบหน้าชื่อผู้ชายแสดงความดูหมิ่นเหยียดหยาม, คำประกอบคำบางคำที่ผู้ใหญ่ใช้เรียกเด็กผู้ชายหรือผู้ชายที่อายุน้อยกว่ามากด้วยความเอ็นดูหรือสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ไอ้หนู ไอ้น้องชาย; คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้น เช่น ไอ้เราก็ไม่ดี ไอ้จะไปก็ไม่มีที่ไป ไอ้จะอยู่หรือก็คับใจ, คำประกอบหน้าคำบางคำเพื่อเน้นในเชิงบริภาษ เช่น ไอ้ทึ่ม ไอ้โง่ ไอ้ควาย, คำใช้แทนสิ่งที่กล่าวถึงและเป็นที่เข้าใจกัน เช่น ไอ้นั่น ไอ้นี่, เขียนเป็น อ้าย ก็มี.

สอน

หมายถึงก. บอกวิชาความรู้ให้ เช่น ครูสอนหนังสือนักเรียน, แสดงให้เข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีชั่วเป็นต้น เช่น สอนแม่ไม้มวยไทย สอนเย็บปักถักร้อย สอนเท่าไรไม่รู้จักจำ; เริ่มฝึกหัด เช่น เด็กสอนพูด ผู้เป็นอัมพาตต้องมาสอนเดินใหม่ ไก่สอนขัน, เริ่มมีผล เช่น ต้นไม้สอนเป็น.

อุปฮาด

หมายถึง[อุปะ-, อุบปะ-] น. (โบ; ถิ่น-อีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองในภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้วผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่น-พายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจากตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ