ค้นเจอ 217 รายการ

กฤษณา

หมายถึง[กฺริดสะหฺนา] น. ส่วนของเนื้อไม้ซึ่งมีสีดำ เกิดเมื่อต้นไม้มีบาดแผล พบเฉพาะในต้นไม้ชนิด Aquilaria crassna Pierre ex H. Lec. และ A. malaccensis Lam. ในวงศ์ Thymelaeaceae กลิ่นหอม ใช้ทำยาได้.

กวาง

หมายถึง[กฺวาง] น. (๑) ชื่อปลางัวบางชนิดในวงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae และ Balistidae. (ดู งัว ๕ ประกอบ). (๒) ปลาม้า. (ดู ม้า ๓).

กะหล่ำ

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Brassica oleracea L. ในวงศ์ Cruciferae มีหลายพันธุ์ เช่น กะหลํ่าปลี หรือ กะหลํ่าใบ (B. oleracea L. var. capitata L.) กะหลํ่าดอก หรือ กะหลํ่าต้น (B. oleracea L. var. botrytis L.) กะหลํ่าดาว หรือ กะหลํ่าหัวลำต้น [B. oleracea L. var. gemmifera (DC.) Thell.] และ กะหลํ่าปม (B. oleracea L. var. gongylodes L.).

กาลจักร

หมายถึง[กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มนํ้าเมา กินเนื้อสัตว์ พรํ่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).

กุฏไต

หมายถึง(แบบ) น. เสื้อชนิดหนึ่ง เช่น ห่มกุฏไตขอหง้า, โกตไต ก็ว่า เช่น ห่มโกตไตอวดอ้าง. (พยุหยาตรา). (เทียบอิหร่าน และ ตุรกี ว่า เสื้อกั๊กสำหรับทหาร).

ข่า

หมายถึงน. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่าอัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.

แขก

หมายถึงน. คำเรียกชาวอินเดีย ศรีลังกา ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน เนปาล ชวา มลายู ชาวเอเชียตะวันออกกลางและตะวันออกใกล้ ยกเว้นชาวยิว แอฟริกาเหนือ และ นิโกร.

คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

หมายถึงน. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของสนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.

คาร์โบไฮเดรต

หมายถึง[-เดฺรด] น. ชื่อกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ส่วนใหญ่มีสูตรเคมี Cx(H2O)y แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ นํ้าตาล และ พอลิแซ็กคาไรด์ เป็นสารอาหารที่สำคัญมากประเภทหนึ่ง. (อ. carbohydrate).

โฆษะ

หมายถึงว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).

จังออน

หมายถึงน. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออน และ ๒ จังออน = ๑ แล่ง.

จำนวนเชิงซ้อน

หมายถึง(คณิต) น. จำนวนที่มีองค์ประกอบ ๒ ส่วน เขียนได้เป็น a + bi โดย a และ b เป็นจำนวนจริง และ i๒ = -๑.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ