ค้นเจอ 217 รายการ

ตะล่อม

หมายถึงน. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ เกวียน, และ ๕ ตะล่อม เป็น ๑ ยุ้ง.

ตัวคูณร่วมน้อย

หมายถึงน. จำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุดซึ่งนำไปหารด้วยจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไป แล้วจะได้ผลลัพธ์ลงตัวพอดี เช่น ๗๐ เป็นตัวคูณร่วมน้อยของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ค.ร.น.

ตัวหารร่วมมาก

หมายถึงน. จำนวนเต็มบวกที่มีค่ามากที่สุดซึ่งนำไปหารจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ ตั้งแต่ ๒ จำนวนขึ้นไปได้ลงตัวพอดี เช่น ๗ เป็นตัวหารร่วมมากของ ๑๔ และ ๓๕, ใช้อักษรย่อว่า ห.ร.ม.

กฐิน-

หมายถึง[กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).

อวิโรธนะ

หมายถึง[อะวิโรทะนะ] น. ความไม่ประพฤติผิดธรรม, ความไม่คลาดจากธรรม, เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม). (ป., ส.).

วิษุวัต

หมายถึง(ดารา) น. จุดราตรีเสมอภาค คือ จุดที่เมื่อดวงอาทิตย์โคจรไปถึง โลกจะมีกลางวันกับกลางคืนเท่ากัน มี ๒ จุด คือ วสันตวิษุวัต และ ศารทวิษุวัต. (ส. ว่า มีในกึ่งกลาง; อ. equinox).

สิถิล

หมายถึงว. เบา, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงโดยไม่มีกลุ่มลมออกมาด้วย ในภาษาไทยได้แก่เสียง ป ต ก จ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเบาว่า พยัญชนะสิถิล ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑ และ ๓ ของวรรค. (ป.; ส. ศิถิล).

สีกุน

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Carangidae อยู่ในกลุ่มปลาหางแข็ง หางกิ่ว หรือม่ง ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย มักมีจุดดำใหญ่ที่มุมแผ่นปิดเหงือก โดยเฉพาะชนิดที่มีแถบสีเหลืองพาดจากตาถึงคอดหาง หรือมีสีเหลือบเหลืองพาดข้างตัว โดยเฉพาะสีกุนข้างเหลือง (Selaroides leptolepis) สีกุนทอง อันได้แก่ ชนิด Selar boops, S. crumenopthalmus, Alepis melanoptera และ A. djeddaba เป็นต้น.

หญ้าพันงู

หมายถึงน. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Amaranthaceae ดอกมีกลีบรองแข็งคล้ายหนาม ใช้ทำยาได้ คือ หญ้าพันงูขาว (Achyranthes aspera L.) ลำต้นตั้ง ใบสีเขียว และ หญ้าพันงูแดง [Cyathula prostrata (L.) Blume] กิ่งทอดราบไปตามพื้นดิน ใบสีแดง ๆ.

หลัก

หมายถึงน. ตำแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจำนวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จำนวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จำนวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจำนวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.

อโฆษะ

หมายถึงว. ไม่ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงไม่สั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง อ เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด และเสียง ก ค จ ช ซ ต ท ป พ ฟ ฮ เสียงสระในภาษาไทยไม่เป็นอโฆษะ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงไม่ก้องว่า พยัญชนะอโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๑, ๒ ของวรรค และ ศ ษ ส. (ส.; ป. อโฆส).

อริยสัจ

หมายถึงน. ความจริงของพระอริยะ, ความจริงอันประเสริฐ; ชื่อธรรมสำคัญหมวดหนึ่งในพระพุทธศาสนา มี ๔ ข้อ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) และ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค (ทางแห่งความดับทุกข์). (ป. อริยสจฺจ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ