ค้นเจอ 153 รายการ

ฉลาดเฉลียว

หมายถึงว. มีปัญญาและไหวพริบดี, เฉลียวฉลาด ก็ว่า. (ข. ฉฺลาตเฉฺลียว, ฉฺลาสเฉฺลียว).

สิกขา

หมายถึงน. ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่า ศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การเล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).

อภิสมโพธิ,อภิสัมโพธิ

หมายถึง[อะพิสมโพด, -สำโพทิ] น. ความตรัสรู้เองด้วยพระปัญญาอันยิ่ง หมายเฉพาะการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า. (ป.).

อปภาคย์,อัปภาคย์

หมายถึง[อะปะพาก, อับปะพาก] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์. (ส.).

เจโตวิมุติ

หมายถึง[-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรมประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).

อัพยากฤต

หมายถึง[อับพะยากฺริด] น. กลาง ๆ ระหว่างกุศลกับอกุศล คือไม่จัดเป็นกุศลหรืออกุศล ในความว่า ธรรมที่เป็นอัพยากฤต. (ส.; ป. อพฺยากต).

เฉลียวฉลาด

หมายถึงว. มีปัญญาและไหวพริบดี, ฉลาดเฉลียว ก็ว่า. (ข. เฉฺลียวฉฺลาต, เฉฺลียวฉฺลาส).

สิ้นคิด

หมายถึงก. หมดปัญญาจะแก้ปัญหา, หมดหนทางคิดอ่าน, เช่น บางคนพอสิ้นคิดเข้าจริง ๆ ก็ฆ่าตัวตาย. ว. ที่หมดปัญญาจะแก้ปัญหา, ที่หมดหนทางคิดอ่าน, เช่น เขาทำตัวเหมือนคนสิ้นคิด เที่ยวลักขโมยเขากิน.

สมาธิ

หมายถึง[สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสำรวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบหรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).

ทาสปัญญา

หมายถึง[ทาดสะ-] น. ความคิดตํ่า. ว. โง่เขลาเบาปัญญา, มีสติปัญญาน้อย, เช่น คนทาสปัญญา. (ป.).

แหง

หมายถึง[แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.

อัพภันดร,อัพภันตร,อัพภันตร-

หมายถึง[อับพันดอน, -ตะระ-] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัดในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ