ค้นเจอ 238 รายการ

พวงมาลา

หมายถึงน. ดอกไม้ที่จัดแต่งขึ้นตามโครงรูปต่าง ๆ เช่น วงกลม วงรี มักมีใบไม้เป็นส่วนประกอบด้วย สำหรับวางที่อนุสาวรีย์ พระบรมรูป หรือศพ เป็นต้น เพื่อเป็นเกียรติหรือแสดงความเคารพ.

เสนากุฎ

หมายถึง[เส-นากุด] น. เสื้อทหารสมัยโบราณ พิมพ์เป็นลายสี รูปสิงห์ขบที่หน้าอกและต้นแขน สำหรับแต่งเข้ากระบวนแห่ของหลวง.

จิ้มก้อง

หมายถึงก. เจริญทางไมตรีโดยนำเครื่องบรรณาการไปมอบให้ เช่น แต่งทูตออกไปจิ้มก้อง. (พงศ. ร. ๓), (ปาก) โดยปริยายหมายถึงนำสิ่งของเป็นต้นไปกำนัลเพื่อเอาใจ.

สมฤติ

หมายถึง[สะมะรึติ] น. ชื่อคัมภีร์ทางศาสนาพราหมณ์ซึ่งแต่งขึ้นภายหลังคัมภีร์พวกศรุติ เช่น คัมภีร์เวทางคศาสตร์ ศูตระ รามายณะ มหาภารตะ ปุราณะ ธรรมศาสตร์. (ส.).

กบูร

หมายถึง[กะบูน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ, งาม, เช่น ก็ใช้สาวสนมอนนกบูร. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), คำนี้บางทีเขียนเป็น กระบูร กระบวร ขบูร ขบวร.

จุลวงศ์

หมายถึง[จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.

น้ำมันระกำ

หมายถึงน. นํ้ามันระเหยง่ายชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน กลั่นได้จากไม้ล้มลุกชนิด Gaultheria procumbens L. ในวงศ์ Ericaceae ใช้ทานวดแก้เคล็ดบวม และใช้เป็นสารแต่งกลิ่นได้.

คาถาพัน

หมายถึงน. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถาภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.

เสภา

หมายถึงน. ชื่อกลอนชนิดหนึ่ง นิยมแต่งเล่าเรื่องค่อนข้างยาว ใช้ขับ เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน, เวลาขับมีกรับเป็นเครื่องประกอบจังหวะ ต่อมาใช้ปี่พาทย์รับ.

ฤษี

หมายถึง[รึ-] น. ฤๅษี, นักบวชพวกหนึ่ง มีมาก่อนพุทธกาล สละบ้านเรือนออกไปบำเพ็ญพรตแสวงหาความสงบ. (ส. ฤษี ว่า ผู้เห็น, ผู้แต่งพระเวท; ป. อิสิ).

สังกรประโยค

หมายถึง[สังกะระปฺระโหฺยก, สังกอระปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีประโยคเล็กตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปมารวมกัน โดยมีประโยคหลักที่มีใจความสำคัญเพียงประโยคเดียว ส่วนประโยคเล็กทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก.

วรรณคดี

หมายถึงน. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ