ค้นเจอ 141 รายการ

อัปภาคย์

หมายถึง[อับปะ-] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).

ชักเย่อ

หมายถึง[ชักกะ-] น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีจำนวนเท่า ๆ กันหรือกำลังพอ ๆ กัน มักใช้เชือกขนาดพอกำรอบ ยาวพอที่จะให้ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายเรียงแถวจับได้ โดยมีที่ว่างระหว่างกลางเหลือไว้ประมาณ ๒ เมตร กลางเชือกคาดด้วยผ้าหรือใช้สีป้ายเป็นเครื่องหมายไว้ วางกึ่งกลางเชือกไว้บนพื้นที่ที่มีเส้นขีดกลางเป็นเส้นแบ่งเขตแดน เมื่อกรรมการให้สัญญาณ ผู้เล่นทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็จะพยายามดึงเชือกให้กึ่งกลางของเชือกเข้ามาในแดนของตน ถ้าฝ่ายใดสามารถดึงกึ่งกลางเชือกเข้ามาในแดนของตนได้ ถือว่าชนะ ตามปรกติจะแข่งกัน ๓ ครั้ง ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ ครั้งถือว่าชนะเด็ดขาด. ก. ดึง, รั้ง.

ชักแม่น้ำทั้งห้า

หมายถึง(สำ) ก.พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคำยอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

บัวบาท

หมายถึงน. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมาหมายถึงพระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.

ชักพระ

หมายถึงน. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.

ชี้ตาไม่กระพริบ

หมายถึง(สำ) ก. ดื้อมาก, สู้สายตาไม่ยอมแพ้, เช่น เหม่! ออนี่หนักหนา ชี้ตาไม่กระพริบเลย ว่าแล้วซิยังเฉยดื้อถือบุญ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

กัลปนา

หมายถึง[กันละปะนา] ก. เจาะจงให้. น. ที่ดินหรือสิ่งอื่นเช่นอาคารซึ่งเจ้าของอุทิศผลประโยชน์ให้แก่วัดหรือศาสนา; ส่วนบุญที่ผู้ทำอุทิศให้แก่ผู้ตาย. (ส.; ป. กปฺปนา).

แล้วแต่

หมายถึงว. ตามแต่, สุดแต่, สุดแท้แต่, (ใช้ในลักษณะที่ยกอำนาจการตัดสินขั้นสุดท้ายให้แก่ผู้ใดหรือสิ่งใดเป็นต้น) เช่น แล้วแต่บุญกรรม แล้วแต่สถานการณ์ แล้วแต่กรณี แล้วแต่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาอนุมัติหรือไม่.

ทวง

หมายถึงก. เรียกเอาสิ่งที่เป็นของตนหรือที่ติดค้างกลับคืน เช่น ทวงหนี้ ทวงเงิน ทวงค่าเช่า, เรียกร้องเอาสิ่งที่จะพึงมีพึงได้ เช่น ทวงสิทธิ ทวงบุญทวงคุณ.

เอาหน้า

หมายถึงก. อยากให้คนยกย่องสรรเสริญ เช่น ทำบุญเอาหน้าหรืออยากได้บุญคุณ เช่น เขามาเอาหน้ากับฉันว่าเป็นคนเสนอชื่อฉันให้ได้รับรางวัล; เรียกการทำงานเฉพาะงานที่ผู้ใหญ่รู้เห็นเพื่อหวังประโยชน์ว่า ทำงานเอาหน้า.

สมนาคุณ

หมายถึง[สมมะนาคุน] ก. ตอบแทนบุญคุณด้วยทรัพย์ สิ่งของ หรือแรงงาน เป็นต้นแล้วแต่กรณี เช่น ร้านค้ามีของสมนาคุณผู้ซื้อ ธนาคารให้ของสมนาคุณแก่ลูกค้า, เรียกทรัพย์หรือสิ่งของเป็นต้นที่ให้ในลักษณะเช่นนั้นว่า เงินสมนาคุณ ของสมนาคุณ.

ทิฏฐุชุกรรม

หมายถึง(แบบ) น. การทำความเห็นให้ตรง คือ เห็นถูกทาง เช่น เห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว (เป็นข้อหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ คือ ทานมัย สีลมัย ภาวนามัย อปจายนมัย เวยยาวัจจมัย ปัตติทานมัย ปัตตานุโมทนามัย ธัมมัสสวนมัย ธัมมเทสนามัย ทิฏฐุชุกรรม). (ป. ทิฏฺฐุชุกมฺม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ