ค้นเจอ 117 รายการ

กินนรรำ

หมายถึงน. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.

ส้มเหม็น

หมายถึงส้มเขียวหวานอ่อน ที่ปกติแล้วหากส้มเขียวหวานเป็นลูกดก ชาวสวนต้องทำการเด็ดลูกที่อ่อนบางส่วนทิ้งเพื่อให้เหลือจำนวนหมาะสมที่จะโตสวย บางส่วนก็ทิ้งลงร่องน้ำปล่อยเป็นปุ๋ยไป แต่ก็มีบางส่วนนำมาปรุงอาหารที่ออกรสเปรี้ยวเพื่อไม่ให้เสียเปล่า

รุกฆาต

หมายถึงก. เดินหมากรุกเข้าไปจะกินขุนของอีกฝ่ายหนึ่ง พร้อมกันนั้นก็เตรียมจะกินหมากอีกตัวหนึ่งด้วย ถ้าฝ่ายนั้นถอยขุนหนีก็จะกินหมากตัวที่เหลือ เช่น รุกฆาตขุนฆาตเรือ ถ้าถอยขุนหนีก็จะกินเรือ, (ใช้ในการเล่นหมากรุก).

ห่อน

หมายถึงว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา. (ลอ), ในคำประพันธ์บางคราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ. (เห่ชมนก).

หลวม

หมายถึงว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลืออยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยายหมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยังหลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.

หางหนู

หมายถึงน. หางเปียขนาดเล็กและสั้นที่บริเวณท้ายทอยโดยโกนผมที่เหลือออกทั้งหมด; เรียกตะไบเล็ก ๆ ที่มีลักษณะกลมเรียวว่า ตะไบหางหนู; ส่วนของแขนงช่อดอกของหมากและมะพร้าวที่ดอกเพศผู้ร่วงหมดแล้ว.

ไตรดายุค

หมายถึง[ไตฺร-] น. ชื่อยุค ที่ ๒ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือ ๓ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ส. เตฺรตายุค; ป. เตตายุค). (ดู จตุรยุค).

ล่อน

หมายถึงก. หลุดออกหมดไม่มีเหลือติดอยู่ (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเนื้อเยื่อ หรือสิ่งซึ่งห่อหุ้มอยู่) เช่น เงาะล่อน พริกไทยล่อน, หลุดออกเป็นชิ้นเป็นแผ่น เช่น สะเก็ดล่อน สีล่อน, หลุดออกง่ายเมื่อกะเทาะหรือแซะออกเป็นต้น เช่น แป้งขนมเบื้องล่อน.

แล้วกัน

หมายถึง(ปาก) ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวังเป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน ไปเมื่อไรก็ไม่บอก; คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอันยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน.

เรียบ

หมายถึงว. ไม่ขรุขระ เช่น พื้นเรียบ, ราบ เช่น กระเบื้องแผ่นเรียบ ฝาผนังเรียบไม่มีลวดลาย, เป็นระเบียบ เช่น จัดบ้านเรียบ, ไม่ยุ่ง เช่น หวีผมเรียบ, ไม่ยับ เช่น รีดเสื้อเรียบ; (ปาก) เกลี้ยง, หมด, ไม่เหลือ, เช่น กินเรียบ กวาดเรียบ ตายเรียบ.

ก้น

หมายถึงน. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลำตัว, โดยปริยายหมายความถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับ ปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.

ปิ๋ว

หมายถึงก. ชักไว้เสีย, เป็นคำใช้ในวิธีเล่นโยนหลุม เมื่อโยนกันจนเหลือ ๑ สตางค์ ก็ชักเอาเสียไม่ต้องโยนอีก เรียกว่า ปิ๋ว; ชวด, พลาดจากที่หวัง เช่น เขาปิ๋วเงินรางวัลก้อนใหญ่. (ปาก) ว. ริบ เช่น ถูกปิ๋วเงินประกัน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ