ค้นเจอ 196 รายการ

ครุย

หมายถึง[คฺรุย] น. ชายผ้าที่ทำเป็นเส้น ๆ, ชายครุย ก็ว่า; ชื่อเสื้อจำพวกหนึ่ง ใช้สวมหรือคลุม มีหลายชนิด ใช้เป็นเครื่องประกอบเกียรติยศหรือแสดงหน้าที่ในพิธีการหรือแสดงวิทยฐานะ.

สายวัด

หมายถึงน. เครื่องวัดระยะชนิดหนึ่งเป็นแถบเล็กยาว มีหน่วยวัดระยะ ใช้วัดสิ่งต่าง ๆ เช่น สายวัดตัวของช่างเย็บเสื้อ สายวัดของช่างไม้.

กระสวน

หมายถึงน. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.

พอดี

หมายถึงว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น เสื้อใส่ได้พอดี, พอดิบพอดี ก็ว่า; พอเหมาะกับเวลา เช่น พอสิ้นเดือนเงินก็หมดพอดี เขามาถึงที่ทำงาน ๘.๓๐ น. พอดี.

สนับ

หมายถึง[สะหฺนับ] น. เสื้อ; เครื่องสวม; เครื่องรองอย่างเครื่องรองมือของช่างเย็บเพื่อกันเข็มแทงมือเป็นต้น. ก. ทาบ, ซ้อน, เช่นหญ้าที่โทรมทับหญ้าที่ขึ้นใหม่อีก เรียกว่า ตกสนับ.

แขน

หมายถึงน. อวัยวะที่ต่อจากไหล่ทั้ง ๒ ข้าง, (ราชา) เรียกอวัยวะตั้งแต่ศอกไปถึงไหล่ว่า พระพาหา ตั้งแต่ศอกไปถึงมือว่า พระกร; เรียกสิ่งที่ยื่นออกไปจากส่วนใหญ่เหมือนรูปแขน เช่น แขนเสื้อ ไม้เท้าแขน.

ยับ

หมายถึงก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหายมาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยำ ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ.

รั้ง

หมายถึงก. หน่วงเหนี่ยวไว้ เช่น รั้งตัวไว้ก่อน, เหนี่ยว เช่น แขนเสื้อรั้ง, ชักมา, ใช้กำลังเต็มที่เพื่อให้สิ่งที่มีแรงต้านทานเคลื่อนเข้ามาหรือหยุดอยู่ เช่น รั้งวัวรั้งควาย; ระวัง, เฝ้า, รักษา, ครอง เช่น รั้งเมือง.

รัดรูป

หมายถึงว. คับมากจนเห็นรูปทรงเด่นชัด เช่น เสื้อรัดรูป กางเกงรัดรูป; เรียกขวดที่ใส่ปลากัดเป็นต้นทำให้เห็นเล็กกว่าปรกติว่า ขวดรัดรูป, คู่กับ ขวดส่งรูป ซึ่งทำให้เห็นใหญ่กว่าปรกติ.

สมบุกสมบัน

หมายถึงว. ทนลำบากตรากตรำโดยไม่คิดถึงตัว เช่น เขาทำงานสมบุกสมบันจึงประสบความสำเร็จ; อาการที่ใช้โดยไม่ปรานีปราศรัยหรือโดยไม่ทะนุถนอม เช่น ใช้เสื้อผ้าสมบุกสมบันทำให้ขาดเร็ว ใช้วัวควายไถนาอย่างสมบุกสมบันโดยไม่ให้พักผ่อน.

วิ่น

หมายถึงว. ลักษณะอาการที่หลุด ขาด หรือลุ่ยออกกะรุ่งกะริ่ง เช่น จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว. (สังข์ทอง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ขาด เป็น ขาดวิ่น เช่น เสื้อผ้าขาดวิ่น.

หม่า

หมายถึง(ปาก) ก. กิน เช่น ในห้องมีของกินมาก เข้าไปหม่าเสียซิ; ปล่อยไว้ไม่เป็นระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง; หมัก, แช่ให้อ่อนตัว, เช่น หม่าข้าว หม่าแป้ง หม่าปูน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ