ค้นเจอ 198 รายการ

ตัด

หมายถึงก. ทำให้ขาดด้วยของมีคม เช่น ตัดกระดาษ ตัดผ้า; ทอน เช่น ตัดเงินเดือน, ลัด เช่น เดินตัดทาง; ตัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งทำให้เป็นสิ่งสำเร็จรูป เช่น ตัดเสื้อ ตัดรองเท้า; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตัดญาติ ตัดกิเลส.

อาภรณ์

หมายถึง[-พอน] น. เครื่องประดับ, บางทีก็ใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น พัสตราภรณ์ = เครื่องประดับคือเสื้อผ้า สิราภรณ์ = เครื่องประดับศีรษะ คชาภรณ์ = เครื่องประดับช้าง พิมพาภรณ์ = เครื่องประดับร่างกาย ในคำว่า ถนิมพิมพาภรณ์ ธรรมาภรณ์ = มีธรรมะเป็นเครื่องประดับ. (ป., ส.).

ปน

หมายถึงก. ประสมกัน เช่น ข้าวเจ้าปนข้าวเหนียว, แกมกัน เช่น พูดไทยปนฝรั่ง, รวมกัน เช่น อย่าเอาผ้านุ่งกับเสื้อซักปนกัน, ถ้าเอาส่วนน้อยประสมลงในส่วนมากเพื่อให้ระคนปนเป็นอันเดียวกัน เรียกว่า เจือปน, ถ้าเป็นในลักษณะที่ปนกันทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งดีและชั่ว เรียกว่า คละปน.

เรียบ

หมายถึงว. ไม่ขรุขระ เช่น พื้นเรียบ, ราบ เช่น กระเบื้องแผ่นเรียบ ฝาผนังเรียบไม่มีลวดลาย, เป็นระเบียบ เช่น จัดบ้านเรียบ, ไม่ยุ่ง เช่น หวีผมเรียบ, ไม่ยับ เช่น รีดเสื้อเรียบ; (ปาก) เกลี้ยง, หมด, ไม่เหลือ, เช่น กินเรียบ กวาดเรียบ ตายเรียบ.

พลาสติก

หมายถึงน. สารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวร มีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือหรือรถยนต์. (อ. plastic).

ช่าง

หมายถึงน. ผู้ชำนาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ช่างตัดเสื้อ ช่างไม้ ช่างไฟ. ว. มีนิสัยชอบในทางใดทางหนึ่ง เช่น ช่างคิด ช่างพูด ช่างประดิษฐ์, มีลักษณะนิสัยโน้มไปในทางนั้น ๆ เช่น ช่างโง่จริง ๆ ช่างเก่งจริง ๆ.

หมก

หมายถึงก. ซุกไว้ใต้ เช่น หมกดิน หมกโคลน หมกทราย, หลบหน้า เช่น ไปหมกหัวอยู่ที่ไหน, ทิ้งสุม ๆ ไว้ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วอย่าหมกไว้; เรียกวิธีทำอาหารบางอย่างให้สุกด้วยการหมกไฟ เช่น หมกปลา หมกหัวมันเทศ.

ถลก

หมายถึง[ถะหฺลก] ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถลกผ้านุ่งถลกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถลกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถลกเศียร, ถก ก็ว่า.

เลื่อม

หมายถึงน. วัสดุสำหรับปักลวดลายลงบนผ้า มักมีลักษณะบางเป็นรูปกลมแบนเล็ก ๆ ตรงกลางมีรู เป็นเงามัน สำหรับใช้ปักลวดลาย เช่นเสื้อโขนตัวทศกัณฐ์ พระราม พระลักษมณ์ เป็นต้น. ว. เป็นเงามัน.

สะดุดตา

หมายถึงก. กระทบตาชวนให้มอง เช่น ผู้หญิงคนนี้สวยสะดุดตาจริง ๆ วันนี้เขาใส่เสื้อสีสะดุดตา, ชวนให้สนใจ เช่น เขามีบุคลิกลักษณะเด่นกว่าคนอื่น ๆ เห็นแล้วรู้สึกสะดุดตาทีเดียว, ที่เห็นเด่นชัด เช่น ร้านอาหารร้านนี้ทาสีแดง สะดุดตาแต่ไกล.

สมรด

หมายถึงน. เครื่องตกแต่งขอบต้นแขน และปลายแขนเสื้อครุย ปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ; ผ้าคาดเอวปักด้วยดิ้น เงินแล่ง ทองแล่ง เป็นลวดลายต่าง ๆ โบราณใช้เป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งที่แสดงศักดิ์, สำรด หรือ ผ้าแฝง ก็เรียก.

หนุน

หมายถึงก. รองให้สูงขึ้น เช่น เสื้อหนุนไหล่, ดันให้สูงขึ้น เช่น น้ำทะเลหนุน; ส่งเสริม เช่น หนุนให้สอบชิงทุนรัฐบาล, เพิ่มเติม เช่น หนุนทัพ; เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งรองหัว เช่น หนุนหมอน หนุนตัก หนุนขอนไม้. ว. ที่เพิ่มเติม เช่น ทัพหนุน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ