ค้นเจอ 102 รายการ

กระหัง

หมายถึงน. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้ชาย เชื่อกันว่าเดิมเป็นผู้ชายที่เรียนวิชาอาคมแก่กล้าเข้าก็มีปีกมีหาง จะไปไหนก็ใช้กระด้งต่างปีก สากตำข้าวต่างขา สากกะเบือต่างหาง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระสือ ซึ่งเป็นผีผู้หญิง, ใช้ว่า กระหาง ก็มี เช่น ถ้าเปนสัจว่าเปนกระสือกระหางจะกละจริงไซร้. (สามดวง).

จับมือ

หมายถึงก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวาของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตามในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนาแหล่งน้ำ.

ผล

หมายถึงน. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนาได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผลเท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).

จินดามณี

หมายถึงน. แก้วอันให้ผลแก่เจ้าของตามใจนึก, แก้วสารพัดนึก; ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. (ป., ส.).

ระหว่าง

หมายถึงน. ช่องว่างจากที่หนึ่งถึงอีกที่หนึ่ง เช่น ในระหว่างภูเขา ๒ ลูก, ระยะเวลาจากระยะหนึ่งถึงอีกระยะหนึ่ง เช่น ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก, เวลาช่วงใดช่วงหนึ่ง เช่น ระหว่างสงครามเขายังเรียนหนังสืออยู่, เวลาที่กำลังเป็นไปอยู่ เช่น ระหว่างประชุมฝนตกหนัก ระหว่างนี้เขาไม่ว่าง. บ. คำที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของบุคคลหรือสถาบันเป็นต้นตั้งแต่ ๒ ขึ้นไป เช่น งานมงคลสมรสระหว่างนาย ก กับนางสาว ข แบ่งมรดกในระหว่างลูก ๆ การแข่งขันฟุตบอลระหว่างมหาวิทยาลัย การประชุมระหว่างชาติ.

เตียว

หมายถึงน. ลิงจำพวกหนึ่งในเรื่องรามเกียรติ์ที่ใช้ผ้าตะบิดโพกศีรษะ เรียกว่า เตียวเพชร; เรียกหนังที่สลักเป็นรูปลิงขาวมัดลิงดำมาหาฤๅษี. (ลัทธิ); ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (รามเกียรติ์ ร. ๑); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เสวียน. ก. มัดด้วยผ้าเตี่ยว, คาดให้แน่น, เช่น เตียวแขนมันไพล่หลัง. (พระราชนิพนธ์พระร่วง แบบเรียน).

แบบ

หมายถึงน. สิ่งที่กำหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดำเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตำรา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้นให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตองซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัดกลัดไว้ สำหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็นรูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็นดอกไม้ประดิษฐ์.

ครุ

หมายถึง[คะรุ] ว. หนัก, ใช้ในตำราฉันทลักษณ์ หมายถึง พยางค์ที่มีเสียงหนัก ได้แก่ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวและสระเกินทั้ง ๔ คือ สระอำ ใอ ไอ เอา เช่น ตา ดำ (สระอำถือเป็น ครุ ก็ได้ ลหุ ก็ได้) และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น หัด เรียน ใช้เครื่องหมาย แทน, คู่กับ ลหุ ซึ่งใช้เครื่องหมาย แทน. (ป. ครุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง; ส. คุรุ ว่า หนัก; สำคัญ, ควรเคารพ, มีค่าสูง).

เลิก

หมายถึงก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้วกลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดงเดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.

เข้า

หมายถึงก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวมเป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทำให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทำงาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทำงาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคำอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.

ต่อ

หมายถึงก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาวออกไป เช่น ต่อเชือก; ทำให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วนเช่นเรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทำให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนันโดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่ายเห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นำสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่า ในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ออกจะ, น่าจะ, ท่าจะ, เช่น มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา. (สังข์ทอง); ถัดไป, สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นำไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน เช่น คำต่อ (คือ คำบุรพบทและคำสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออำเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้นักเรียน ครูเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.

กราบ

หมายถึง[กฺราบ] ก. แสดงความเคารพด้วยวิธีนั่งประนมมือขึ้นเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดพื้น, ถ้าหมอบแล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่ประนมอยู่กับพื้น เรียกว่า หมอบกราบ, ประนมมือเสมอหน้าผาก แล้วน้อมศีรษะลงจดมือที่วางอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ก็อนุโลมถือว่าเป็นกราบ เช่น กราบลงบนตัก, เรียกกราบไหว้ด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ ลงกับพื้น คือ กราบเอาเข่าทั้ง ๒ จดพื้น ฝ่ามือทั้ง ๒ วางราบติดพื้น และหน้าผากจดพื้นว่า กราบโดยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นอาการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด, โดยปริยายใช้เป็นคำแสดงอาการเคารพเหมือนอย่างกราบ เช่น กราบทูล กราบเรียน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ