ค้นเจอ 429 รายการ

สนทนา

หมายถึง[สนทะ-] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).

อัดฉีด

หมายถึงก. อัดจาระบีเข้าที่ข้อต่อรถยนต์; (ปาก) ให้เงินหรือรางวัลพิเศษเพื่อให้ทำงานให้โดยเร็วหรือให้ได้ผล.

ปัญญา

หมายถึงน. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).

การเปรียญ

หมายถึง[-ปะเรียน] น. เรียกศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรมว่า ศาลาการเปรียญ.

วิชาบังคับเลือก

หมายถึงน. รายวิชาเลือกที่ทางภาควิชาบังคับให้เรียนในหลักสูตร. (อ. elective prescribed course).

ปากต่อปาก

หมายถึงก. เล่าโดยการบอกต่อ ๆ กัน; เรียนโดยการบอกด้วยปากเปล่า (มักใช้แก่ผู้ไม่รู้หนังสือ).

กุมภา

หมายถึง(กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).

ทิวงคต

หมายถึง(ราชา) ก. ไปสู่สวรรค์, ตาย, (ใช้แก่พระยุพราช หรือเจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ).

กัลชาญ

หมายถึง[กันละชาน] ว. กลชาญ, เชี่ยวชาญ, เช่น แด่พระผู้กัลชาญพิเศษ. (ม. คำหลวง ทศพร).

เทวนาครี

หมายถึง[เทวะนาคะรี] น. อักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษาสันสกฤต.

อนัญสาธารณ์

หมายถึง[อะนันยะสาทาน] ว. เป็นพิเศษไม่ทั่วไปแก่คนอื่น. (ป. อนญฺสาธารณ).

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ