ค้นเจอ 285 รายการ

บาทบงสุ์

หมายถึง[บาดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป. ปาทปํสุ).

มหาราชลีลา

หมายถึงน. เรียกท่านั่งที่ห้อยเท้าขวาลงเท้าซ้ายงอพับขึ้นไปสอดไว้ใต้โคนขาขวา.

ตะโพง

หมายถึงว. อาการวิ่งก้าวยาว ๆ หรือวิ่งอย่างกระโดด; โทง ๆ, โหย่ง ๆ, เช่น ก็จะทำคลุมโปงตะโพงดัน. (ปกีรณำพจนาดถ์), วิ่งตะโพงกอดบาท. (นิทราชาคริต), ตะพง ก็ว่า.

บ่าย

หมายถึงน. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบสเบือนบ่ายจำแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

เขย่ง

หมายถึง[ขะเหฺย่ง] ก. ยืนด้วยปลายเท้า, พยุงตัวให้สูงขึ้น.

ส้น

หมายถึงน. ส่วนท้ายของเท้า เช่น อย่าเดินลงส้น รองเท้ากัดส้น, เรียกเต็มว่า ส้นเท้า, ส่วนท้ายของบางสิ่งบางอย่าง เช่น ส้นปืน.

ขี้แต้

หมายถึงน. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่ตามทุ่งนา มักอูดขึ้นมาจากรอยกีบเท้าวัวเท้าควาย เรียกว่า หัวขี้แต้.

บท,บท,บท-,บท-

หมายถึง(แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคำอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี บทเรศ, (ดูคำแปลที่คำนั้น ๆ). (ป. ปท).

รำเท้า

หมายถึงก. เต้นหมุนเวียนวนไปด้วยเท้าอย่างเต้นรำของฝรั่ง, เต้นรำ ก็ว่า.

ย่อง

หมายถึงก. เดินอย่างใช้ปลายเท้าจดลงเบา ๆ.

นั่งพับเพียบ

หมายถึงก. นั่งพับขาทั้ง ๒ ข้าง ให้ปลายเท้าไปทางเดียวกัน.

บทศรี

หมายถึง[บดทะ-] (กลอน) น. เท้า (ใช้แก่เจ้านาย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ