ค้นเจอ 285 รายการ

ตะโพก

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.

บทวลัญช์

หมายถึง[บดทะวะลัน] (แบบ) น. รอยเท้า. (ป. ปทวลญฺช).

กำไล

หมายถึงน. ชื่อเครื่องประดับสำหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทำด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกำไลมือว่า ทองพระกร กำไลเท้าว่า ทองพระบาท.

สะโพก

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, ตะโพก ก็ว่า.

สีหไสยา,สีหไสยาสน์

หมายถึงน. ท่านอนอย่างราชสีห์ คือ นอนตะแคงขวา แขนซ้ายพาดไปตามลำตัว เท้าซ้ายซ้อนบนเท้าขวา มือขวารองรับศีรษะด้านข้าง.

จระแคง

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ว. ตะแคง เช่น เท้าล้มจระแคง ทลายพุงพัง. (สุธนู).

เสือลากหาง

หมายถึง(สำ) น. คนที่ทำท่าทีเป็นเซื่องซึม เป็นกลอุบายให้ผู้อื่นตายใจแล้วเข้าทำการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่ทันให้รู้ตัว, คนที่ทำท่าอย่างเสือลากหาง เพื่อขู่ให้กลัว เช่น ถือไม้เท้าก้าวเดินเป็นท่าทาง ทีเสือลากหางให้นางกลัว. (สังข์ทอง).

นั่งคุกเข่า

หมายถึงก. นั่งโดยวิธีย่อเข่าลงให้ติดพื้น แล้วหย่อนก้นลงบนส้นเท้า.

บทรัช

หมายถึง[บดทะ-] (แบบ) น. ละอองเท้า เช่น นางโรยนางรื่นล้าง บทรัช. (ลอ).

โคปผกะ

หมายถึง[โคบผะกะ] (แบบ) น. ตาตุ่ม, ข้อเท้า, ราชาศัพท์ว่า พระโคปผกะ. (ป.).

ศรภะ

หมายถึง[สะระพะ] น. สัตว์ในนิยาย ว่ากันว่ามี ๘ เท้า มีแรงมากกว่าช้างและสิงโต. (ส.).

ห้อย

หมายถึงก. แขวนติดอยู่ เช่น ห้อยอุบะ, ปล่อยหรือหย่อนให้แขวนติดอยู่ เช่น นั่งห้อยเท้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ