ค้นเจอ 306 รายการ

อีโปง

หมายถึงน. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ วา ทำจากโคนต้นตาลผ่าซีก แล้วขุดเอาเนื้อข้างในออก ปิดท้ายด้วยไม้ ท้ายเรือเล็กกว่าหัวเรือ.

เต่าหับ

หมายถึงน. ชื่อเต่านํ้าจืดชนิด Cuora amboinensis ในวงศ์ Emydidae อาศัยอยู่บนบกที่มีความชื้นมากกว่าอยู่ในนํ้า กระดองหลังโค้งนูนมาก กระดองท้องเป็นบานพับแบ่งออกเป็น ๒ ตอน และสามารถหับปิดได้.

น้ำตะกู,น้ำตะโก

หมายถึงน. กระดาษที่มีสีเหลืองอย่างสีทองคำ นิยมนำมาใช้สลักปรุเป็นลวดลาย หรือใช้ทั้งแผ่นปิดตกแต่งสิ่งปลูกสร้างหรือครุภัณฑ์บางอย่างเป็นการชั่วคราว เรียกว่า กระดาษนํ้าตะกู หรือ กระดาษนํ้าตะโก.

กล่อง

หมายถึง[กฺล่อง] น. ภาชนะใส่สิ่งของรูปกลมหรือเหลี่ยมมีฝาปิด, สิ่งที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก มีลิ้นชักเข้าออกได้ สำหรับบรรจุไม้ขีดไฟ เรียกว่า กล่องไม้ขีดไฟ, กลักไม้ขีดไฟ ก็เรียก.

มุง

หมายถึงก. เอาวัตถุมีกระเบื้องหรือจากเป็นต้น ขึ้นปิดส่วนบนของเรือนหรือหลังคาเพื่อกันแดดกันฝน เช่น เอากระเบื้องมุงหลังคา; รุมกันเข้าไปดูอย่างไม่มีระเบียบ เช่น มีคนมุงดูคนเป็นลมเต็มไปหมด.

หมากไห

หมายถึงน. ผลหมากที่เกิดจากการนำหมากสุกมาลอกผิวนอกออก บรรจุลงในไหให้เต็ม เติมน้ำสะอาดพอท่วม ปิดฝาให้แน่น ทิ้งไว้จนเปลือกเน่า เพื่อเก็บไว้กินแรมปี.

เม็ดมะยม

หมายถึงน. ปุ่มสำหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย; ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.

ตลับ

หมายถึง[ตะหฺลับ] น. ภาชนะอย่างหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของเช่นขี้ผึ้งสีปากหรือยา โดยมากมีรูปกลม ๆ ขนาดไม่ใหญ่นัก มีฝาปิด. (เทียบมลายู ตลป ว่า กล่องเล็ก ๆ สำหรับใส่หมาก).

สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

หมายถึง(กฎ) น. ทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน และทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ.

วลี

หมายถึง[วะลี] น. แถว, รอย, รอยย่น (ที่หน้า). (ป., ส.); (ไว) กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันเป็นระเบียบและมีกระแสความเป็นที่หมายรู้กันได้ แต่ยังไม่เป็นประโยคสมบูรณ์ เช่น หนูแหวนแขนอ่อน เวลาดึกดื่นเที่ยงคืน ทางเดินเข้าสวนมะพร้าว.

ปฐมยาม

หมายถึง[ปะถมมะ-] น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา. (ป.).

กรณฑ์

หมายถึง[กฺรน] น. ภาชนะมีฝาปิด, ภาชนะใส่นํ้า เช่น หม้อกรณฑ์, กรัณฑ์ หรือ กรัณฑก ก็เรียก; ผอบ เช่น บรรจุพระบรมธาตุในสุวรรณกรณฑ์. (เทศนาพระราชประวัติ). (ป., ส. กรณฺฑ, กรณฺฑก ว่า ขวด).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ