ค้นเจอ 306 รายการ

ลา

หมายถึงก. จากไปโดยแสดงให้ทราบด้วยกิริยาท่าทาง คำพูด หรือด้วยหนังสือ; ขออนุญาตหยุดงานชั่วคราว เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักผ่อน ลาไปศึกษาต่อ; ขอคืนของที่บูชาหรือบนไว้ เช่น ลาข้าวพระภูมิ ลาของที่บนไว้.

ซิป

หมายถึงน. เครื่องรูดปิดให้ริมผ้าหรือวัสดุ ๒ ชิ้นประสานกัน ประกอบด้วยฟันเล็ก ๆ ๒ แถว มีที่จับเพื่อรูดให้ฟันประกบกันหรือแยกออกจากกันได้. (อ. zipper, zip-fastener).

ดอก

หมายถึงว. คำประกอบให้ได้ความชัดขึ้น เช่น ฉันดอก ไม่ใช่คนอื่น ทำไม่ได้ดอก, (ปาก) มักพูดว่า หรอก เช่น ไม่ไปหรอก. ก. หลอก เช่น บ้างดอกล้อแล้วโลมคืน. (ม. คำหลวง ชูชก).

กบ

หมายถึงน. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่างหรือประตู ทำหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.

ไตรปิฎก

หมายถึง[-ปิดก] น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ตรีปิฎก ก็ว่า.

ถ้ำชา

หมายถึงน. ภาชนะที่โดยมากทำด้วยตะกั่วชนิดหนึ่ง สำหรับใส่ใบชา รูปร่างคล้ายขวด มีฝาปิด เช่น ขมิ้นดินสอพองเอาไว้ไหน เมื่อวานกูใส่ไว้ในถํ้า. (ขุนช้างขุนแผน).

แก้มช้ำ

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius orphoides ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก.

สะอึก

หมายถึงก. อาการที่หายใจชะงักเนื่องจากกะบังลมหดตัว และช่องสายเสียงก็ปิดตามมาทันทีทันใดในเวลาเดียวกัน; โดยปริยายหมายความว่า ชะงักงัน เช่น พอถูกถามปัญหาแทงใจดำเข้าก็สะอึกทันที.

เรืออีโปง

หมายถึงน. เรือขุดชนิดหนึ่ง ยาวประมาณ ๑ วา ทำจากโคนต้นตาลผ่าซีก แล้วขุดเอาเนื้อข้างในออก และปิดท้ายด้วยไม้ ท้ายเรือเล็กกว่าหัวเรือ.

ลูกกระแอม

หมายถึงน. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สำหรับอุดหรือปิดช่องไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์. (ดู กระแอม ๒).

สิ้นสติ

หมายถึงก. สลบ, หมดความรู้สึก, เช่น เขาตกใจแทบสิ้นสติ เขาถูกต่อยจนสิ้นสติ. ว. อาการที่ขาดความรู้สึกตัว เช่น เที่ยวดึก ๆ ทุกคืน พอกลับถึงบ้านก็นอนหลับเหมือนสิ้นสติ.

ปัจฉิมยาม

หมายถึง[ปัดฉิมมะ-] น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ