ค้นเจอ 323 รายการ

กระจกเว้า

หมายถึงน. วัตถุที่มีผิวมัน ลักษณะกลีบบัวหงาย สามารถสะท้อนแสงให้เกิดภาพจริงหัวกลับได้บนจอที่ขวางรับแสงสะท้อน.

กระอาน

หมายถึง(ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อเต่านํ้ากร่อยชนิด Batagur baska ในวงศ์ Emydidae สามารถปรับตัวอยู่ในนํ้าจืดได้ พบเฉพาะทางภาคใต้, กะอาน ก็เรียก.

เครื่องกล

หมายถึงน. เครื่องมือที่ประกอบด้วยส่วนที่อยู่กับที่และส่วนที่เคลื่อนที่ได้ สามารถปรับเปลี่ยนและส่งถ่ายพลังงานกลไปยังจุดอื่นในรูปที่เป็นประโยชน์มากขึ้น เช่น รอก คาน ลิ่ม. (อ. machine).

เด่น

หมายถึงว. ที่ปรากฏเห็นได้ชัดจะแจ้งเพราะนูนขึ้นมา ยื่นลํ้าออกมา หรือสูงใหญ่กว่าธรรมดา, โดยปริยายหมายความว่า มีคุณสมบัติหรือความสามารถเยี่ยม เช่น สวยเด่น ดีเด่น.

นาฟางลอย

หมายถึงน. นาที่ปลูกข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “ข้าวขึ้นน้ำ” เนื่องจากมีรากยาว สามารถหนีน้ำที่บ่ามาท่วมได้รวดเร็ว สามารถแตกแขนงตามข้อและที่ข้อจะมีรากงอกออกมาสำหรับดูดหาอาหาร นิยมปลูกในท้องที่ซึ่งมีระดับน้ำสูงตั้งแต่ ๑-๔ เมตร, นาเมือง ก็เรียก.

สุตกวี

หมายถึง[สุตะกะวี, สุดตะกะวี] น. กวีผู้มีความสามารถในการแต่งร้อยกรองตามที่ได้ยินมา. (ป.; ส. ศฺรุต).

ทิ้งทวน

หมายถึง(ปาก) ก. ทำอย่างไว้ฝีมือ, ทำจนสุดความสามารถ, ไม่ทำอีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวยโอกาสทำเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอำนาจ.

มืออ่อน

หมายถึงว. นอบน้อม, ไหว้คนง่าย (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ชมผู้น้อย); มีความสามารถน้อย เช่น เขายังมืออ่อนในการทำงาน, ตรงข้ามกับ มือแข็ง.

ความรู้สึกด้อย

หมายถึง(จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึกและผู้นั้นไม่จำเป็นต้องมีปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อมั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).

ฝีเท้า

หมายถึงน. ความสามารถในการเดิน วิ่ง ช้าหรือเร็ว หนักหรือเบา เป็นต้น เช่น ม้าฝีเท้าดี ม้าฝีเท้าจัด คนฝีเท้าหนัก, ฝีตีน ก็ว่า.

แม่สี

หมายถึงน. กลุ่มสีซึ่งสามารถผสมออกมาเป็นสีอื่น ๆ ได้ทุกสี มี ๕ สี คือ แดง เขียว (คราม) เหลือง ดำ ขาว เรียกว่า เบญจรงค์.

ความรู้สึกเขื่อง,ความรู้สึกเด่น

หมายถึง(จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่นกว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จำเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สำนึก แต่ถ้าเกิดขึ้นเสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ