ค้นเจอ 109 รายการ

ร่วม

หมายถึงก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้าน ร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะเดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติ มีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทำมาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.

ธาตุมมิสสา

หมายถึง[ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสำแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุขเสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตำรากลอน).

สุขาภิบาล

หมายถึง[สุ-] (เลิก) น. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีฐานะตํ่ากว่าเทศบาล มีคณะกรรมการบริหารประกอบด้วยนายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน เป็นต้น โดยมีนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเป็นประธาน มีหน้าที่จัดทำกิจการภายในเขตที่รับผิดชอบ เช่น จัดให้มีและบำรุงทางนํ้า ทางบก และระบายนํ้า รักษาความสะอาดถนนหนทาง กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. (ป. สุข + อภิบาล).

แวว

หมายถึงว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัดเสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็นนักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัดเป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้แกะสลักปิดทอง.

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

โลกายัต

หมายถึงน. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่าโลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเราเกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุขเสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นอุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).

รู้สึก

หมายถึงก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุกเท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึกสนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่าจะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้องยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.

ผู้

หมายถึงน. คำใช้แทนบุคคล เช่น นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ หรือใช้แทนคำว่า คน เช่น ผู้นั้น ผู้นี้ ทุกผู้ทุกนาม หรือใช้แทนสิ่งที่ถือเสมือนคน เช่น ศาลเป็นผู้ตัดสิน; คำใช้ประกอบคำกริยาหรือประกอบคำวิเศษณ์ให้เป็นนามขึ้น เช่น ผู้กิน ผู้ดี. ว. คำบอกเพศ หมายความว่า ตัวผู้ เช่น ม้าผู้ วัวผู้. ส. ที่, ซึ่ง, เช่น บุคคลผู้กระทำความดีย่อมได้รับความสุข.

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

สุรางคนางค์

หมายถึงน. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์ อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว ไป่รู้คุณผัว ไม่กลัวความอาย ลิ้นลมข่มคำ ห่อนยำเยงชาย จงจิตรคิดหมาย มุ่งร้ายภรรดา. (กฤษณา), ตัวอย่างฉันท์ ชะอมชะบา มะกอกมะกา มะค่าและแค ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก ก็แลไสว. (หลักภาษาไทย), ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น กรุงเทพเทียมทัด เทพไทเธอจัด สร้างสิ้นทั้งหลาย แทบทางวางรุกข์ ร่มเย็นเป็นสุข แซ่ซร้องหญิงชาย ไปมาค้าขาย ออกร้านเรียงราย รื่นเริงสำราญ. (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ).

สุรางคนา

หมายถึงน. ชื่อกาพย์และฉันท์ มี ๒๘ คำ คือ มี ๗ วรรค วรรคละ ๔ คำ เช่น ตัวอย่างกาพย์ อย่าเยี่ยงหญิงชั่ว ไป่รู้คุณผัว ไม่กลัวความอาย ลิ้นลมข่มคำ ห่อนยำเยงชาย จงจิตรคิดหมาย มุ่งร้ายภรรดา. (กฤษณา), ตัวอย่างฉันท์ ชะอมชะบา มะกอกมะกา มะค่าและแค ตะขบตะค้อ สมอแสม มะกล่ำสะแก ก็แลไสว. (หลักภาษาไทย), ถ้าเป็นกาพย์ขับไม้มี ๓๖ คำ เช่น กรุงเทพเทียมทัด เทพไทเธอจัด สร้างสิ้นทั้งหลาย แทบทางวางรุกข์ ร่มเย็นเป็นสุข แซ่ซร้องหญิงชาย ไปมาค้าขาย ออกร้านเรียงราย รื่นเริงสำราญ. (กาพย์ขับไม้ กล่อมพระเศวตรัตนกรีฯ).

บุกรุก

หมายถึงก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขตพระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจหรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดยยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ