ค้นเจอ 261 รายการ

ชา

หมายถึงว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับความรู้สึกถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.

ชุดสากล

หมายถึงน. เครื่องแต่งกาย ประกอบด้วยกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ต ผ้าผูกคอ เสื้อนอกคอแบะ ถุงเท้า และรองเท้าหุ้มส้น.

หน่อ

หมายถึงน. พืชที่งอกจากกอหรือเหง้าของต้นใหญ่, โดยปริยายเรียกสิ่งที่เกิดเช่นนั้น; ลูก, ลูกชาย, เชื้อสาย; แผลเรื้อรังที่เกิดจากคุดทะราด เป็นตามฝ่าเท้า.

เกร็ง

หมายถึง[เกฺร็ง] ก. ทำกล้ามเนื้อให้แข็ง เช่น เกร็งข้อ เกร็งแขน. ว. อาการที่กล้ามเนื้อเป็นต้นแข็งอย่างงอไม่ได้ เช่น มือเกร็ง เท้าเกร็ง.

จำห้าประการ

หมายถึงว. มีเครื่องจองจำครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้าติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไปในคาและไปติดกับขื่อทำด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จำครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).

แขวนคอ

หมายถึงก. เอาเชือกหรือผ้าเป็นต้นผูกคอห้อยไว้บนที่สูงเช่นบนต้นไม้ ไม่ให้เท้าถึงพื้นเพื่อให้ตาย เป็นการประหารชีวิตนักโทษแบบหนึ่งของชาวตะวันตกบางประเทศ.

อึ่ง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดในวงศ์ Microhylidae รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ เช่น อึ่งอ่าง (Kaloula pulchra) อึ่งแว่น (Calluella guttulata).

ขะน่อง,ขาน่อง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.

ขัดตะหมาด

หมายถึง(ปาก) ว. เรียกท่านั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า ว่า นั่งขัดตะหมาด.

ขึงอูด

หมายถึงก. นอนหงายเหยียดตรง แล้วใช้ผ้าที่ขมวดปมหัวท้ายคลุมศีรษะด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งใช้ปลายเท้ายันผ้าให้ตึงเพื่อกันยุงเป็นต้น.

นั่งขัดสมาธิ

หมายถึง[-สะหฺมาด] ก. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้น แล้วเอาขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, (ปาก) นั่งขัดตะหมาด.

นาบ

หมายถึงก. เอาสิ่งที่มีความร้อนรีดหรือกดลงไป เช่น นาบพลู นาบใบตอง เอาเหล็กร้อนนาบเท้า, เรียกพลูที่นาบแล้วว่า พลูนาบ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ