ค้นเจอ 440 รายการ

ถลา

หมายถึง[ถะหฺลา] ก. โผผวา เช่น นกถลาลง เด็กวิ่งถลาเข้าหา, เสียหลักซวนไป เช่น เครื่องบินถลาลง.

ผวา

หมายถึง[ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัวเข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาดสะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.

สุมกระหม่อม

หมายถึงก. เอายาสมุนไพรพอกโปะไว้บนกระหม่อมเด็กเล็ก ๆ เพื่อแก้หวัดเป็นต้น, สุมหัว ก็ว่า.

เสียปาก

หมายถึงก. พูดออกไปเปล่าประโยชน์ เช่น เด็กดื้ออย่างนี้เตือนไปก็เสียปากเปล่า ๆ; ไม่คู่ควรที่จะกิน เช่น ของอย่างนี้ฉันไม่กินให้เสียปาก.

เฒ่าหัวงู

หมายถึงน. คนแก่หรือคนมีอายุมากที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลอุบายหลอกเด็กผู้หญิงในทางกามารมณ์, คนแก่เจ้าเล่ห์.

สามหาว

หมายถึงว. หยาบคาย, โอหังก้าวร้าวผู้หลักผู้ใหญ่, (ใช้แก่วาจา) เช่น เด็กพูดจาสามหาวกับผู้ใหญ่.

มหาเมฆ

หมายถึงน. ชื่อละอองหรือฝ้าในปากเด็กเล็ก ๆ เกิดเพราะเป็นโรคซางชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซางโค.

สีสา

หมายถึง(ปาก) ว. ประสีประสา (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น เด็กคนนี้พูดจาไม่รู้สีสา อย่าถือสาเลย.

สนุกสนาน

หมายถึงว. ร่าเริงบันเทิงใจ, เพลิดเพลินเจริญใจ, เช่น เด็ก ๆ เล่นสาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน.

สะวี้ดสะว้าด

หมายถึง(ปาก) ว. รวดเร็ว, ฉวัดเฉวียน, เช่น ขับรถสะวี้ดสะว้าด; ฉูดฉาด, นำสมัยแบบโลดโผน, เช่น เด็ก ๆ ไม่ควรแต่งตัวสะวี้ดสะว้าด.

ผูกขวัญ

หมายถึงก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า “ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว” แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร.

ครือ,ครือ,ครือ ๆ

หมายถึง[คฺรือ] ว. ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว, พอ ๆ กัน เช่น เด็ก ๒ คนนี้ขยันครือ ๆ กัน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ