ค้นเจอ 57 รายการ

กระเหลียก

หมายถึง[-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).

ย่ำ

หมายถึงก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสำหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทำในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทำในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).

อากาศ

หมายถึง[อากาด] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

อากาศ-

หมายถึง[อากาดสะ-] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศโดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).

ตอน

หมายถึงน. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้าสายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดินพอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้ว ตัดกิ่งออกจากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทำลายอวัยวะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.

วัน

หมายถึงน. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน; (กฎ) เวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลาทำการตามปรกติของกิจการนั้นแล้วแต่กรณี (ใช้ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและการอุตสาหกรรม).

ยูง

หมายถึงน. ชื่อนกขนาดใหญ่ในสกุล Pavo วงศ์ Phasianidae ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีขนหางยาวและมีแวว เพื่อใช้รำแพนให้ตัวเมียสนใจ อาศัยอยู่ตามป่าโปร่ง มักร้องตอนเช้าหรือพลบคํ่า กินเมล็ดพืช แมลง และสัตว์เล็ก ๆ มี ๒ ชนิด คือ ยูงไทย (P. muticus) หงอนบนหัวตั้งตรงเป็นกระจุก หนังข้างแก้มสีฟ้าและเหลือง ขนส่วนคอ หลัง ตลอดไปถึงปลายหางสีเขียว และยูงอินเดีย (P. cristatus) หงอนบนหัวแผ่เป็นรูปพัด หนังข้างแก้มสีขาว ขนส่วนคอและอกด้านบนสีนํ้าเงิน.

ยัง

หมายถึงคำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.

ยาม,ยาม-

หมายถึง[ยาม, ยามะ-] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกำหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ