ค้นเจอ 159 รายการ

ลูกตุ้ม

หมายถึงน. ไม้หรือเหล็กยาว ๆ มีลูกกลมข้างปลาย ใช้สำหรับเป็นอาวุธ หรือสายเชือกมีตุ้มเหล็กหรือทองเหลืองถ่วงสำหรับชั่งของเพื่อคิดนํ้าหนัก, ตุ้มนาฬิกาที่ถ่วงให้จักรนาฬิกาเดินพอเหมาะกับเวลา; ของที่มีลักษณะกลม ๆ ห้อยลงมา, ตุ้ม ก็ว่า; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกตุ้มสายสร้อย; ผู้ถ่วงความเจริญ เช่น ไม่ทำการงานแล้วยังทำตัวเป็นลูกตุ้มถ่วงความเจริญเสียอีก.

กัญชา

หมายถึง[กัน-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cannabis sativa L. ในวงศ์ Cannabidaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งเรียก กะหลี่กัญชา ใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทำให้มึนเมา เปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่าน และทอผ้า.

กระพัด

หมายถึงน. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับหรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน, เขียนเป็น กระพัตร ก็มี เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย). ก. ผูก, คาด, ล้อม, เช่น เหตุกระพัดรัดตาด้วยไฟราค. (ม. ร่ายยาว ชูชก).

ราว

หมายถึงน. แถว, แนว, เช่น ราวป่า; เครื่องยึดเหนี่ยวสำหรับเกาะหรือขึ้นลงเป็นต้น เช่น ราวบันได ราวสะพาน, เรียกไม้ โลหะ และเชือกหรือลวดเป็นต้นที่ขึงสำหรับพาดหรือตากผ้าว่า ราว ราวผ้า หรือราวตากผ้า, ถ้าใช้ขึงสิ่งอื่น ๆ เช่น ขึงมุ้ง เรียกว่า ราวมุ้ง ขึงม่าน เรียกว่า ราวม่าน, ไม้หรือโลหะเป็นต้นสำหรับพาดปักวางสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวพระแสง ราวเทียน.

กระไดลิง

หมายถึงน. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่นํ้าลำคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทำยาได้, กระไดวอก มะลืมดำ บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.

สับ

หมายถึงก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลมเจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอหน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทำเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียวขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของสับที่ ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.

หาง

หมายถึงน. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลำตัวสัตว์, ขนสัตว์จำพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ในราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้งเช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสงลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วนที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.

กระแชง

หมายถึงน. เครื่องบังแดดฝน โดยนำใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผงสำหรับคลุมเรือหรือรถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสำหรับติดกับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสำหรับคล้องช้าง; ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่าเรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทำเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.

โรย

หมายถึงก. อาการที่ดอกไม้ค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรย ดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อย ๆ หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย เกสรบัวโรย; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นเพราะอดนอนหรือเพิ่งหายไข้เป็นต้น เช่น หน้าตายังโรยอยู่ อดนอนตาโรย; หย่อนกำลัง, เพลีย, ในคำว่า อิดโรย; ค่อย ๆ ผ่อนลง เช่น โรยเชือก โรยอวน; ค่อย ๆ โปรยลงไป, โปรยลงไปทีละน้อย, เช่น เอาแป้งโรยตัว โรยอาหารให้ปลา โรยพริกไทย โรยผักชี.

ตี

หมายถึงก. เอามือหรือไม้เป็นต้นฟาดหรือเข่นลงไป เช่น ตีเด็ก ตีดาบ, ตบเบา ๆ เช่น นอนตีพุง; บุให้เข้ารูป เช่น ตีขัน ตีบาตร; แผ่ให้แบน เช่น ตีทอง; ทำให้เกิดเสียง เช่น ตีระฆัง; กด, ประทับ, เช่น ตีพิมพ์ ตีตรา; ทำให้เข้ากัน เช่น ตีเกลียวเชือก ตีไข่; กำหนด เช่น ตีราคา; ทิ้งให้เห็น เช่น ตีไพ่; ชักว่าวให้ไปในทิศทางที่ตนต้องการ เช่น ตีว่าวไปทางซ้าย ตีว่าวหนี ตีว่าวแยกกัน. น. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางคืน หลังเที่ยงคืน ตั้งแต่ ๑ นาฬิกา ถึง ๖ นาฬิกา เรียกว่า ตี ๑ ถึง ตี ๖, แต่ตี ๖ นิยมเรียกว่า ยํ่ารุ่ง.

ชัก

หมายถึงก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้าชักออก; นำ เช่น ชักนํ้าเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน; นำเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชักค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกำแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.

ชักพระ

หมายถึงน. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็นประเพณีสำคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโวของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบกกับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้วช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกันลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วยใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ