ค้นเจอ 121 รายการ

จอด

หมายถึงก. หยุดอยู่หรือทำให้หยุด, หยุดอยู่ชั่วคราว, (ใช้แก่เรือรถเป็นต้น); (ปาก) พ่ายแพ้, ไม่มีทางสู้, ตาย; (กลอน) รัก เช่น มิตรใจเรียมจอดเจ้า จักคิด ถึงฤๅ. (นิ. นรินทร์).

สิ้นเชิง

หมายถึงก. สิ้นท่า, หมดท่า, หมดชั้นเชิง, เช่น อันธพาลเมื่อเจอนักสู้เข้าก็สิ้นเชิงนักเลง, โดยปริยายมักใช้กับคำ โดย หรือ อย่าง เป็น โดยสิ้นเชิง อย่างสิ้นเชิง หมายความว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุกประการ, เช่น ข่าวลือนี้ไม่มีมูลความจริงโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.

ลุ่ย

หมายถึงก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่งที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา, คลายออกเป็นเส้น ๆ เช่น ชายผ้าลุ่ย ด้ายที่เย็บไว้ลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ ในคำว่า แพ้ลุ่ย.

ขายทอดตลาด

หมายถึง(กฎ) น. การขายทรัพย์สินที่กระทำโดยเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปด้วยวิธีเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อสู้ราคากัน ผู้ใดให้ราคาสูงสุดและผู้ทอดตลาดแสดงความตกลงด้วยเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอย่างอื่นตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด ผู้นั้นเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินนั้น.

ตาก

หมายถึงก. ผึ่งให้แห้ง เช่น ตากผ้า, ปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้ง เช่น ตากแดด ตากฝน; ตรำ, สู้ทน, เช่น เดินตากฝน นอนตากยุง. ว. ห่าง, แบะออก, เช่น ควายเขาตาก คือ ปลายเขาไม่รวมเข้าหากัน; ที่ผึ่งแดดจนแห้ง เช่น ข้าวตาก กล้วยตาก; เรียกหลังคาเรือนที่ชันน้อยว่า หลังคาตาก.

สุด

หมายถึงก. สิ้น เช่น สุดกระแสความ สุดความ, หมด เช่น รักสุดหัวใจ, จบ เช่น สุดสายรถประจำทาง. ว. ปลายหรือท้าย เช่น สุดแดน สุดแผ่นดิน ในที่สุด, ปลายทางใดทางหนึ่ง เช่น เหนือสุด ขวาสุด บนสุด; อย่างมาก, อย่างยิ่งยวด, เช่น สุดรัก สุดเสียดาย สุดอาลัย, เต็มที่เต็มกำลัง, เช่น สู้จนสุดชีวิต งานนี้เขาทุ่มจนสุดตัว; เกินกว่าจะทำได้ เช่น สุดกลั้น สุดไขว่คว้า สุดทน.

วิญญาณ

หมายถึงน. สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกายล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่; ความรับรู้ เช่น จักษุวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางตา โสตวิญญาณ คือ ความรับรู้ทางหู เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; โดยปริยายหมายถึงจิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน. (ป.; ส. วิชฺาน).

เต็ม

หมายถึงว. มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งบรรจุอยู่จนไม่มีที่ว่าง, ไม่พร่อง, เช่น นํ้าเต็มโอ่ง คนเต็ม; ดาษดื่น, มีอยู่ทั่วไป, เช่น เต็มบ้านเต็มเมือง เต็มตลาด; เปี่ยม เช่น เต็มฝั่ง เต็มตลิ่ง; สุดขีด, เต็มที่, เช่น ตะโกนเต็มเสียง วิ่งเต็มฝีเท้า; ถ้าใช้ประกอบหน้ากริยา หมายความว่า แทบไม่ไหว เช่น เต็มกิน เต็มทน เต็มสู้.

หน้าตัก

หมายถึงน. คำที่ใช้เรียกขนาดความกว้างของพระพุทธรูปแบบนั่งขัดสมาธิโดยวัดจากสุดเข่าข้างหนึ่งถึงอีกข้างหนึ่ง ใช้วัดด้วยมาตราไทย เช่น พระพุทธรูปองค์นี้หน้าตัก ๑๐ นิ้วพระประธานในโบสถ์ หน้าตัก ๑ วา ๒ ศอก ๕ นิ้ว; โดยปริยายหมายถึงเงินหรือเบี้ยพนันที่วางอยู่ตรงหน้าของผู้เล่นการพนัน เช่น สู้แค่หมดหน้าตัก.

ประตู

หมายถึงน. ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือนเป็นต้น มีบานเปิดปิดได้ เช่น ประตูบ้าน ประตูเมือง, ช่อง, ทาง, เช่น ไม่มีประตูสู้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประตูฟุตบอล ประตูรักบี้, ช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการเล่นการพนันบางชนิด เช่น ถั่ว โป ไฮโล นํ้าเต้า; ลักษณนามเรียกจำนวนครั้งที่เตะลูกบอลเข้าไปในประตู เช่น ได้ ๒ ประตู เสีย ๓ ประตู, เรียกช่องหรือโอกาสที่จะได้หรือเสียในการพนันบางชนิด เช่น ถูกประตูเดียว กิน ๓ ประตู.

ลง

หมายถึงก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ