ค้นเจอ 309 รายการ

สาร

หมายถึง[สาน] น. สิ่งที่มีองค์ประกอบเป็นอย่างเดียวกัน มีสมบัติเฉพาะของตนเอง และไม่สามารถใช้วิธีกลใด ๆ มาแบ่งแยกให้เป็นส่วนอื่นที่มีองค์ประกอบและสมบัติแตกต่างออกไปได้; (โบ) เรียกธาตุจำพวกหนึ่งและธาตุที่เข้าแทรกในต้นไม้ว่า สาร.

วะ

หมายถึงว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น, อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคยเป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ.

โพล่

หมายถึงน. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วยกาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน.

ปุรพษาฒ,บุรพอาษาฒ,บุพพาสาฬหะ

หมายถึง[-สาด, บุบพะอาสาด, บุระพะอาสาด, บุบพาสานหะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๐ มี ๓ ดวง เห็นเป็นรูปปากนกหรือช้างพลาย, ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้ ก็เรียก.

โสตทัศนอุปกรณ์

หมายถึง[โสตะทัดสะนะอุปะกอน, โสดทัดสะนะอุบปะกอน] น. อุปกรณ์การสอนสำหรับฟังและดู เช่น วิทยุ โทรทัศน์, ใช้ว่า โสตทัศนูปกรณ์ ก็มี.

จัตวา

หมายถึง[จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๋ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).

สาร,สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).

อุปทูต

หมายถึง[อุปะทูด, อุบปะทูด] น. ผู้รักษาการในตำแหน่งหรือรักษาการแทนหัวหน้าสถานเอกอัครราชทูตหรือหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต; (โบ) ตำแหน่งรองจากราชทูต.

อุปรากร

หมายถึง[อุปะรากอน, อุบปะรากอน] น. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์. (อ. opera).

มดี

หมายถึง[มะ-] คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนามในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระ อิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง. (ป., ส. มตี).

หลักชัย

หมายถึงน. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.

ไตร

หมายถึง[ไตฺร] ว. สาม, คำสำหรับนำหน้าสมาสอย่างเดียว (บางทีใช้ว่า ตรี ก็ได้) เช่น ไตรลักษณ์ ไตรทวาร, แม้จะพูดไว้ท้ายคำบ้าง เช่น ผ้าไตร หอไตร ก็เพราะละท้ายสมาสเสีย คือ ผ้าไตรจีวร หอไตรปิฎก. (ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ