ค้นเจอ 132 รายการ

อนุสาสนีปาฏิหาริย์

หมายถึงน. การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

อาภัสระ

หมายถึง[-พัดสะระ] น. ชื่อพรหมโลกชั้น ๑ ในรูปพรหม ๑๖ ชั้น, เรียกพรหมซึ่งอยู่ชั้นนี้ว่า อาภัสรพรหม. ว. สว่าง, สุกใส, เปล่งปลั่ง. (ป. อาภสฺสร).

วิชชา

หมายถึง[วิด-] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒. จุตูปปาตญาณ (รู้จักกำหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทำอาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกำหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).

เสียงสระ

หมายถึงน. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, สระ ก็เรียก.

พฤทธิ์

หมายถึง[พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลีและสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทำสระให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).

อาน,อาน-,อาน-

หมายถึง[อานะ-] น. ลมหายใจเข้า, นิยมใช้เข้าคู่กับ อปานะ คือ ลมหายใจออก เป็น อานาปานะ = ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ในคำว่า อานาปานัสสติ = สติที่กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออก. (ป., ส.).

อาการนาม

หมายถึง[อาการะนาม] (ไว) น. คำนามที่บอกกิริยาอาการหรือความปรากฏเป็นต่าง ๆ ของคน สัตว์ และสิ่งของ ซึ่งมาจากคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ที่มักมีคำ “การ” หรือ “ความ” นำหน้า เช่น การยืน การเดิน การอยู่ ความรัก ความดี ความสวย.

กุมภาพันธ์

หมายถึงน. ชื่อเดือนที่ ๒ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มต้นด้วยเดือนมกราคม มี ๒๘ หรือ ๒๙ วัน, (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๑ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. กุมฺภ = หม้อ + อาพนฺธ = ผูก = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกุมภ์).

มิจฉาชีพ

หมายถึงน. การหาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, อาชีพที่ผิดกฎหมาย, เช่น เขาประกอบมิจฉาชีพ. ว. ที่หาเลี้ยงชีวิตในทางผิด, ที่ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย, เช่น พวกมิจฉาชีพ. (ป. มิจฺฉา + อาชีว).

อภิญญา

หมายถึง[อะพินยา] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

กะริงกะเรียด

หมายถึง(โบ) ว. คำพ้อชนิดหนึ่งว่าทำเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย คล้ายทำก้อร่อก้อติก เช่น เป็นหญิงเจ้าแม่อา อย่าทำกะริงกะเรียด ตัวเจ้ายังน้อยสักเท่าเขียด เจ้ามาวอนแม่จะมีผัว. (มโนห์รา).

อภิญญาณ

หมายถึง[อะพินยาน] น. “ความรู้ยิ่ง” ในพระพุทธศาสนามี ๖ อย่าง คือ ๑. อิทธิวิธิ การแสดงฤทธิ์ได้ ๒. ทิพโสต หูทิพย์ ๓. เจโตปริยญาณ ญาณรู้จักกำหนดใจผู้อื่น ๔. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้ ๕. ทิพจักขุ ตาทิพย์ ๖. อาสวักขยญาณ ญาณรู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป. (ป.; ส. อภิชฺา, อภิชฺาน).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ