ค้นเจอ 68 รายการ

ขายหูขายตา

หมายถึง(แบบ) ก. ได้ยินได้เห็นแล้วรู้สึกอายไม่อยากฟังไม่อยากเห็น เช่น ดอกขายหูขายตา ดอกบนำพารู้. (ลอ), ใช้ว่า ไขหูไขตา ก็มี.

มีหน้า

หมายถึงว. ไม่รู้สึกอาย (ใช้ในความแดกดัน รังเกียจ หรือดูหมิ่น), มักใช้กับคำ ยัง เช่น โกรธกันแล้วยังมีหน้ามาพูด เก่าไม่ใช้ ยังมีหน้ามายืมใหม่อีก.

ลื้น,ลื้น ๆ

หมายถึงว. เจ็บอาย, เศร้า, สลด, เช่น ว่าแล้วหน้าไม่ลื้น; บวมหรือนูนน้อย ๆ เช่น แขนถูกแมลงต่อยผิวลื้นขึ้นมา เนื้อลื้น ๆ จะเป็นฝี.

เจื่อน

หมายถึงก. เข้าหน้าไม่สนิทเพราะห่างเหินไปนาน เช่น หมู่นี้เขาเจื่อนไป, เจิ่น ก็ว่า; วางหน้าไม่สนิทเพราะกระดากอายเนื่องจากถูกจับผิดได้เป็นต้น เช่น หน้าเขาเจื่อนไป, เรียกหน้าที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า หน้าเจื่อน.

คลา

หมายถึง[คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).

ขวิด

หมายถึง[ขฺวิด] ก. กิริยาของหมูป่าหรือสัตว์ที่ใช้เขาหรือนอทำร้าย, เสี่ยว, ชน. ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า เดินขาขวิด.

ด้าน

หมายถึงว. กระด้าง, ไม่นิ่ม, เช่น มือด้าน ข้อศอกด้าน; ไม่เป็นมัน, ไม่เป็นเงา, เช่น สีด้าน กระดาษด้าน; จุดไม่ติดหรือไม่ระเบิด เช่น ประทัดด้าน ชนวนด้าน ลูกระเบิดด้าน; โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้สึกเจ็บ, ไม่รู้สึกอาย, เช่น หน้าด้าน.

ไหนจะ

หมายถึงว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).

ดูดำ

หมายถึง(โบ) ก. ดูหมิ่น เช่น เปนม่ายชายดูดำ กุมเกษ กำแก้ผม ผลักล้มจมดินทราย แสร้งอวยอายอยดยศ. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

ม้าน

หมายถึงก. เหี่ยวแห้ง; เผือดเพราะความอาย. น. เรียกข้าวที่ยืนต้นแห้งตายเพราะขาดน้ำเนื่องจากฝนแล้งว่า ข้าวม้าน; เรียกหน้าที่เผือดด้วยความละอายจนไม่กล้าสบตาคนว่า หน้าม้าน.

กินนรรำ

หมายถึงน. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.

งุด,งุด ๆ

หมายถึงว. อาการก้มหน้าลงเพราะกลัวหรืออายเป็นต้น เช่น ก้มหน้างุด, อาการที่เดินก้มหัวหรือก้มหน้าไปโดยเร็ว, อาการที่ก้มหน้าก้มตาทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นั่งทำงานงุด ๆ ทั้งวัน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ