ค้นเจอ 68 รายการ

คันถรจนาจารย์

หมายถึง[-รดจะนาจาน] น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. (ป. คนฺถ + ป., ส. รจน + ส. อาจารฺย).

รดน้ำ

หมายถึงน. วิธีการเขียนจิตรกรรมเป็นลวดลายสีทองบนพื้นลงรักหรือทาชาด เรียกว่า ลายปิดทองรดนํ้า, ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น ลายรดนํ้า. ก. หลั่งนํ้าในพิธีต่าง ๆ เช่น รดน้ำบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์.

โครส

หมายถึง[-รด] น. นมวัว (มี ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง เรียก ปัญจ-โครส หรือ เบญจโครส). (ป., ส.).

อุหรับ

หมายถึงน. ผงกระแจะจันทน์ปนทองสำหรับเจิมในการอภิเษกรดนํ้า เช่น อบอุหรับจับกลิ่นหอมหวน. (อิเหนา). (ม.).

เบญจคัพย์

หมายถึงน. เต้านํ้า อยู่ในหมู่ของใช้ในการพระราชพิธี ตามราชประเพณีของไทยใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ทรงรับนํ้าอภิเษกหรือใส่นํ้าเทพมนตร์ ซึ่งจะรดถวายให้แก่พระมหากษัตริย์ หรือพระมหากษัตริย์ทรงรดพระราชทานสมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งมีพระชนนีเป็นเจ้า, บางแห่งเขียนว่า เบญจครรภ.

นานัครส

หมายถึง[นานักคะรด] น. รสเลิศต่าง ๆ เช่น นานัครสโภชชาหาร. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. นานา + อคฺค + รส).

ดำหัว

หมายถึงน. ประเพณีทางภาคเหนือซึ่งกระทำในวันปีใหม่เพื่อเป็นการแสดงความเคารพนับถือและรักใคร่ วิธีดำหัว คือ เอาสิ่งของและนํ้าที่ใส่เครื่องหอมเช่นนํ้าอบไทยไปให้แก่ผู้ที่เคารพ และขอให้ท่านรดนํ้าใส่หัวของตนเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข.

กมณฑลาภิเษก

หมายถึง[กะมนทะ-] (แบบ) น. หม้อนํ้าสรง เช่น อนนเต็มในกมณฑลาภิเษก. (ม. คำหลวง มหาราช). (ป., ส. กมณฺฑลุ = หม้อนํ้า + ส. อภิเษก = รด).

ชอง

หมายถึงน. ชื่อชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่งในตระกูลมอญ-เขมร มีมากทางตอนเหนือของจังหวัดจันทบุรี, เรียกตัวเองว่า สำเร หรือ ตำเหรด, เขมรเรียกว่า พวกปอร.

ศฤงคารรส

หมายถึง[สะหฺริงคานระรด] (วรรณ) น. รส ๑ ใน ๙ รสของวรรณคดี มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับความรัก เช่น เรื่องลิลิตพระลอมีเนื้อเรื่องเป็นศฤงคารรส.

กระหนก

หมายถึงน. ชื่อแบบลายไทยประเภทหนึ่ง ใช้ผูกเขียนเป็นลวดลาย มีทั้งระบายสี ปิดทองรดนํ้า ปั้น หรือแกะสลักเป็นต้น มีหลายชนิด เช่น กระหนกเปลว กระหนกก้านขด กระหนกเครือ, เดิมเขียนเป็น กนก ก็มี.

สมุก

หมายถึง[สะหฺมุก] น. ถ่านทำจากใบตองแห้งใบหญ้าคาเป็นต้นป่นให้เป็นผงประสมกับรักนํ้าเกลี้ยง สำหรับทารองพื้นบนสิ่งต่าง ๆ เช่นบานประตูหน้าต่างโบสถ์วิหารก่อนที่จะเขียนลายรดนํ้าปิดทอง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ