ค้นเจอ 594 รายการ

ภาษาแบบแผน

หมายถึงน. ภาษาที่ถือเป็นแบบฉบับที่จะต้องใช้เป็นแบบเดียวกันในโอกาสอย่างเดียวกัน เช่น คำกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขึ้นต้นว่า “ขอเดชะ...” และลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า...”, ภาษาที่ใช้เป็นทางการในโอกาสสำคัญ หรือใช้แก่บุคคลสำคัญ หรือบุคคลสำคัญเป็นผู้ใช้ เช่น คำประกาศเกียรติคุณในการประสาทปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ คำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันขึ้นปีใหม่, ภาษาระดับพิธีการ ก็เรียก.

วัวลืมตีน

หมายถึง(สำ) น. คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน.

ลืมหูลืมตา

หมายถึงก. เปิดหูเปิดตารับรู้ความเป็นไปของสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น รู้จักลืมหูลืมตาดูโลกเสียบ้างซิ; มักใช้แก่ฝนในความปฏิเสธ หมายความว่าหนักมาก เช่น ฝนตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา.

ลืมตน

หมายถึงก. ขาดความระลึกถึงฐานะเดิมของตน, ลืมนึกถึงฐานะของตนไปชั่วคราว, เช่น ได้ดีแล้วอย่าลืมตน; ลืมนึกถึงความจริงประการหนึ่งของโลกที่ว่าสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยงอาจแปรเปลี่ยนได้ เช่น เหลิงอำนาจจนลืมตน.

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

ภาษาปาก

หมายถึงน. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.

ภาษาคำติดต่อ

หมายถึงน. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำบางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).

ภาษาราชการ

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.

ภาษาคำโดด

หมายถึงน. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำสองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).

ภาษาถิ่น

หมายถึงน. ภาษาเฉพาะของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งที่มีรูปลักษณะเฉพาะตัวทั้งถ้อยคำและสำเนียงเป็นต้น.

เปลี่ยนมือ

หมายถึงก. เปลี่ยนเจ้าของ, เปลี่ยนผู้ครอบครอง.

อย่าหาทำ

หมายถึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ, อย่าทำ

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ