ค้นเจอ 264 รายการ

กลม

หมายถึง[กฺลม] ว. (โบ) ปวง, หมด, สิ้น, เช่น ทั้งกลม คือ ทั้งปวง, จึ่งได้เมืองแก่กูทงงกลํ. (จารึกสยาม); เรียกหญิงที่ตายพร้อมกับลูกที่อยู่ในท้องว่า หญิงตายทั้งกลม หมายถึง ตายทั้งหมด คือ ตายทั้งแม่ทั้งลูก.

จาตุกรณีย์

หมายถึงน. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บำรุงราษฎร ๓. บำรุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. (ป., ส. จตุ + กรณีย).

ร้อง

หมายถึงก. เปล่งเสียงดัง, โดยปริยายหมายถึงออกเสียงดังเช่นนั้น เช่น ฟ้าร้อง จักจั่นร้อง, (ปาก) ใช้หมายความว่า ร้องเพลง ร้องไห้ ก็มี แล้วแต่คำแวดล้อมบ่งให้รู้ เช่น เพลงนี้ร้องเป็นไหม อย่าร้องให้เสียน้ำตาเลย.

เสียเปล่า

หมายถึงก. เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า. ว. เสียแรงที่ (เป็นสำนวนใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น เป็นลูกผู้หญิงเสียเปล่า ไม่รู้จักการบ้านการเรือน มีสมองเสียเปล่า แต่ไม่รู้จักคิด.

สำทับ

หมายถึงก. ยํ้า, กำชับ, เช่น เขาสั่งให้ทำงานแล้วสำทับว่าต้องเสร็จใน ๓ วัน, ซ้ำเติม เช่น ลูกถูกแม่ตีแล้วพ่อยังสำทับว่าถ้าทำอีกก็จะถูกตีอีก, ขู่ เช่น ผู้ร้ายสำทับว่า อย่าไปบอกตำรวจมิฉะนั้นจะฆ่าปิดปาก.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

ประชัน

หมายถึงว. อาการที่แข่งขันเพื่อให้รู้ว่าใครจะแสดงได้ดีกว่าหรือเก่งกว่ากัน เช่น งิ้ว ๒ โรงประชันกัน อย่าเอาเป็ดขันประชันไก่, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เด็กร้องไห้ประชันกัน.

หนักอก

หมายถึงก. วิตก เช่น อย่าประพฤติตัวเหลวไหลทำให้พ่อแม่หนักอก. ว. ลำบากใจ เพราะต้องแบกภาระไว้มาก เช่น ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำเป็นปัญหาหนักอกของรัฐบาล, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักใจ เป็น หนักอกหนักใจ.

หนักแน่น

หมายถึงว. มั่นคง, ไม่ท้อถอย, เช่น เขามีใจหนักแน่นไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น; ไม่โกรธง่าย เช่น เขาเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่โกรธใครง่าย ๆ; ไม่หูเบา เช่น ต้องทำใจให้หนักแน่น อย่าเชื่อใครง่าย ๆ.

ฮ้าเฮ้ย

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเพื่อดุว่าหรือห้ามเป็นต้น เช่น ฮ้าเฮ้ยเด็กน้อยถอยขยายเสือร้ายจะเดินทาง อย่าเข้ามาขวางจังหวะทำโว้เว้ (ม. ร่ายยาว กุมาร), ฮะเฮ้ย ก็ว่า.

ประชามติ

หมายถึงน. มติของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่แสดงออกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือที่ใดที่หนึ่ง. (อ. plebiscite); มติของประชาชนที่รัฐให้สิทธิออกเสียงลงคะแนนรับรองร่างกฎหมายสำคัญที่ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแล้ว หรือให้ตัดสินในปัญหาสำคัญในการบริหารประเทศ. (อ. referendum).

ยุติธรรม

หมายถึงน. ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม; ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. ว. เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ