ค้นเจอ 222 รายการ

เวรกรรม

หมายถึง[เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนในอดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.

ว่าวขาดลอย

หมายถึง(วรรณ) ก. จากไปไม่กลับ, ว่าวขาดลมลอย ก็ว่า เช่น จะจากเจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).

เหยียบย่ำ

หมายถึงก. ละเมิดให้เสียหาย, ย่ำยีด้วยความดูถูก เช่น อย่าเหยียบย่ำคนจน. น. เอกสารซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้จับจองที่ดินว่างเปล่า มีเงื่อนไขให้ทำประโยชน์ในที่ดินนั้น เรียกว่า ใบเหยียบยํ่า.

กระบิดกระบวน

หมายถึงน. ชั้นเชิง เช่น ทำจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด. (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้. ก. แกล้งทำชั้นเชิงเหมือนไม่เต็มใจ เช่น อย่ากระบิดกระบวนนักเลย.

ปัจจุบัน

หมายถึงน. เวลาเดี๋ยวนี้, ทันที, เวลาไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต เช่น เวลาปัจจุบัน, สมัยใหม่ เช่น แพทย์แผนปัจจุบัน; เรียกโรคภัยที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดว่า โรคปัจจุบัน เช่น โรคลมปัจจุบัน. (ป. ปจฺจุปฺปนฺน).

สาธารณ,สาธารณ-,สาธารณะ

หมายถึง[สาทาระนะ] ว. เพื่อประชาชนทั่วไป เช่น สวนสาธารณะ โทรศัพท์สาธารณะ บ่อน้ำสาธารณะ, ทั่วไป เช่น ถนนนี้ไม่ใช่ถนนสาธารณะ อย่าแต่งตัวประเจิดประเจ้อในที่สาธารณะ. (ป., ส.).

พ่น

หมายถึงก. ห่อปากเป่าให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในปากออกมาเป็นฝอยเป็นต้น, อาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น พ่นไฟ พ่นสี, (ปาก) พูดมาก เช่น รีบ ๆ เข้าเถอะ อย่ามัวพ่นอยู่เลย.

กระสวน

หมายถึงน. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.

เสียสายตา

หมายถึงก. ทำให้สายตาเสื่อมลงหรือเลวลง เช่น อย่าอ่านหนังสือในที่ที่มีแสงสว่างน้อย จะทำให้เสียสายตา; โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น ของอย่างนี้ ฉันไม่ดูให้เสียสายตาหรอก, เสียตา ก็ว่า.

เสียหลัก

หมายถึงก. ผิดไปจากหลักการ หลักเกณฑ์ หรือความถูกต้องเป็นต้น เช่น เป็นผู้ใหญ่มีคนเขานับถือ ทำสิ่งใดอย่าให้เสียหลัก; ซวดเซ, พลาดท่า, ทรงตัวไม่ได้, เช่น คนเมาเสียหลักเลยพลัดตกลงไปในคลอง.

นิ่ง,นิ่ง ๆ

หมายถึงก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.

ชีพุก

หมายถึงน. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คำหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ