ค้นเจอ 487 รายการ

ลืมตาอ้าปาก,ลืมหน้าอ้าปาก

หมายถึงก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน เช่น เดี๋ยวนี้เขาลืมตาอ้าปากได้แล้ว เขาลืมหน้าอ้าปากได้แล้ว, เงยหน้าอ้าปาก ก็ว่า.

คำฟ้องแย้ง

หมายถึง(กฎ) น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.

รูปพรรณ

หมายถึง[รูบปะพัน] น. ลักษณะ, รูปร่างและสี, เช่น รูปพรรณวัว รูปพรรณควาย; เงินทองที่ทำเป็นเครื่องประดับ เช่น เงินรูปพรรณ ทองรูปพรรณ.

โกรด

หมายถึง[โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกำลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.

หัวหายตะพายขาด

หมายถึง(สำ) ว. อาการที่ชอบเที่ยวเตลิดไปไม่อยู่ติดบ้าน บางทีก็ไม่กลับบ้านเลย คล้ายวัวควายที่เชือกตะพายขาดเที่ยวเตลิดไป.

ผิดสี

หมายถึง(ปาก) ว. ต่างสีกัน, เดิมใช้แก่คนที่แต่งเครื่องแบบต่างสีกัน เมื่อพบเห็นมักทำให้รู้สึกว่าเป็นคนละพวก.

พวน

หมายถึงน. ชาวไทยพวกหนึ่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว ส่วนหนึ่งได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย.

ล้อม

หมายถึงก. โอบเป็นวงโดยรอบ, ตีวงเข้าไปโดยรอบ เช่น ล้อมค่าย, กั้นรอบ เช่น ล้อมรั้ว ล้อมคอก, โดยปริยายหมายถึงรุมล้อมเข้ามาเพื่อจะทำร้าย, ล้อมกรอบ ก็ว่า.

ท่ามกลาง

หมายถึงน. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน. ว. ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ท่ามกลางอันตราย. (ไทยเดิม ท่าม ว่า ที่ เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้).

ลุ่ยหู

หมายถึงว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้ถูกกัดหูเสียจนหมด).

แพ้

หมายถึง(ไทยเดิม) ก. ชนะ เช่น อนนเรืองใสงามหนักหนา แพ้พระอาทิตย์. (จารึกสยาม).

ถอยหลังเข้าคลอง

หมายถึง(สำ) ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. น. ชื่อกลอักษร; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์; บทแผ่นเสียง).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ