ค้นเจอ 157 รายการ

กลืน

หมายถึง[กฺลืน] ก. อาการที่ทำให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลำคอลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทำให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สำแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.

จม

หมายถึงก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลายที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.

เรื่องสั้น

หมายถึงน. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช.

แบหลา

หมายถึง[แบหฺลา] (ปาก) ว. อาการที่นอนแผ่กางมือกางเท้า ในคำว่า นอนแบหลา. (กลอน) ก. ฆ่าตัวตาย เช่น เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้าในอัคคี, ฉวยคว้าได้กริชของพี่ยา จะแบหลาชีวันให้บรรลัย, น้องจะแบหลาครานี้ ตายตามพระพี่ที่หายไป. (อิเหนา).

ยา

หมายถึงน. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบำรุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดำ เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียกตามวิธีทำก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยากวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมีสำหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทำให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคำว่า เยียวยา; ทำให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคำ พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.

โขมด

หมายถึง[ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสงเรืองวาวในเวลากลางคืน ทำให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า ได้แก่แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).

ขลุบ

หมายถึง[ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สำหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทองในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมันเหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).

กว่า

หมายถึง[กฺว่า] ว. เกิน เช่น กว่าบาท; เป็นคำใช้เปรียบเทียบในการประมาณ เช่น มากกว่า น้อยกว่า ดีกว่า, ย่อมพลกว่าพลแกว่น. (ม. คำหลวง มหาราช). บ. เลยไป, พ้นไป. สัน. ก่อน, ยังไม่ทัน, เช่น กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ จะ...ก็ เป็น กว่าจะ...ก็ หรือ กว่า...จะ...ก็, โบราณใช้ว่า ยิ่ง ก็มี เช่น ใจกว่าห้วงอรรณพ. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์); ใช้เป็นกริยาว่า ไปจาก ก็มี เช่น แทบทางที่จะกว่า. (ม. คำหลวง จุลพน), ผิออกนางธจะกว่า. (ม. คำหลวง กุมาร); ใช้เป็นวิเศษณ์ว่า จากไป ก็มี เช่น ลํ๋ตายหายกว่า. (จารึกสยาม).

แก้

หมายถึงก. ทำให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทำให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทำให้ดีขึ้น, ทำให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทำให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.

โรย

หมายถึงก. อาการที่ดอกไม้ค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรย ดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อย ๆ หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย เกสรบัวโรย; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นเพราะอดนอนหรือเพิ่งหายไข้เป็นต้น เช่น หน้าตายังโรยอยู่ อดนอนตาโรย; หย่อนกำลัง, เพลีย, ในคำว่า อิดโรย; ค่อย ๆ ผ่อนลง เช่น โรยเชือก โรยอวน; ค่อย ๆ โปรยลงไป, โปรยลงไปทีละน้อย, เช่น เอาแป้งโรยตัว โรยอาหารให้ปลา โรยพริกไทย โรยผักชี.

ตาม

หมายถึงก. ไปหรือมาข้างหลังหรือภายหลังโดยลำดับของสิ่งหรือเหตุการณ์ที่มีมาก่อน เช่น ตามเขาไป แล้วจึงค่อยตามมา ตามเหตุการณ์; เรียกตัวมา เช่น ไปตามนาย ก มา, เชิญมา เช่น ไปตามหมอ; เที่ยวค้นหาสิ่งที่หายไป เช่น ตามเรื่อง ตามวัว; จุดให้ไฟติดไว้ เช่น ตามไฟ ตามตะเกียง ตามประทีป. ว. อาการที่เลียนแบบหรือเอาอย่าง เช่น ทำตาม คล้อยตาม; ควรแก่, เหมาะแก่, เช่น ตามกำลังความสามารถ; เหมือน, อย่าง, ดัง, เช่น ตามเคย ตามปรกติ ตามธรรมดา; แล้วแต่, สุดแต่, เช่น ตามใจ ตามอัธยาศัย ตามกรรม; ไม่ทวนกระแส (ใช้แก่กระแสนํ้าหรือกระแสลม) ในคำว่า ตามนํ้า ตามลม; ไม่ขัด, ไม่ฝ่าฝืน, ไม่ฝืน, เช่น ทำตามคำสั่ง ปฏิบัติตามกฎหมาย ตามสมัยนิยม. บ. แถว, แนว, ถิ่น, ที่, เช่น มีอยู่ตามป่า ปิดไว้ตามกำแพง; โดย เช่น ตามที่ปรากฏว่า.

ยกเมฆ

หมายถึงก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ