ค้นเจอ 194 รายการ

ตีนกา,ตีนกา,ตีนครุ

หมายถึง[-คฺรุ] น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ + สำหรับบอกจำนวนเงิน เส้นดิ่งข้างบนเป็นหลักชั่ง เส้นดิ่งข้างล่างเป็นหลักไพ มุมบนด้านซ้ายเป็นหลักตำลึง มุมบนด้านขวาเป็นหลักบาท มุมล่างด้านซ้ายเป็นหลักเฟื้อง มุมล่างด้านขวาเป็นหลักสลึง เช่น อ่านว่า ๕ ชั่ง ๔ ตำลึง ๓ บาท ๒ สลึง ๑ เฟื้อง ๒ ไพ, เฉพาะจำนวนตำลึง บาท สลึง เฟื้อง อาจเขียนย่อแต่เพียงมุมใดมุมหนึ่งที่ต้องการก็ได้ เช่น = ๔ ตำลึง = ๓ บาท = ๒ สลึง = ๑ เฟื้อง, ปัจจุบัน แพทย์แผนโบราณยังใช้เครื่องหมายตีนกาหรือตีนครุเป็นมาตราชั่งเฉพาะที่เกี่ยวกับเครื่องยาเท่านั้น.

ไกพัล

หมายถึง[ไกพัน] (กลอน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).

บรรดาศักดิ์

หมายถึง[บันดา-] น. ฐานันดรศักดิ์ที่พระราชทานแก่ข้าราชการหรือบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย โดยมีราชทินนามต่อท้าย เช่น เจ้าพระยายมราช พระยาพลเทพ.

กุมารา

หมายถึง(กลอน) น. กุมาร, เด็กชาย, เช่น เมื่อนั้น พระไชยเชษฐ์ความแสนเสนหา พยายามตามปลอบกุมารา อนิจจาปลื้มใจไม่ดูดี. (ไชยเชษฐ์), (ป.; ส. กุมาร ว่า เด็กชาย, ลูกหลวง).

วันรัฐธรรมนูญ

หมายถึงน. วันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรให้แก่ประชาชนชาวไทย ตรงกับวันที่ ๑๐ ธันวาคม.

พัดดึงส์

หมายถึงน. เรียกเหรียญทองครั้งรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๓๒ ของชั่ง = ๒.๕๐ บาท. ว. สามสิบสอง. (ป. พตฺตึส).

ลหุโทษ

หมายถึงน. โทษเบา, โทษไม่ร้ายแรง, คู่กับ มหันตโทษ; (กฎ) ความผิดซึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.

ฉัตรสามชั้น

หมายถึง[ฉัด-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง ตัวอย่างว่า หวนสวาทโหยถวิลโหยสวาทหวน ครวญคะนึงคะเนนึกคะนึงครวญ ใจเศร้าโศกแสนกำสรวลโศกเศร้าใจ.

กำไล

หมายถึงน. ชื่อเครื่องประดับสำหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทำด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกำไลมือว่า ทองพระกร กำไลเท้าว่า ทองพระบาท.

เนื้อ

หมายถึงน. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควายที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจำตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสำคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติของเนื้อทองคำและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยายหมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.

ราง

หมายถึงน. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล; สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคาเป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา; ไม้ที่ขุดหรือต่อให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด; เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่น รางรถไฟ; ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ ๘๐ เหรียญ หรือ ๑ ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี ๑๐ แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาทได้ ๑๐ เหรียญ รวมเป็น ๑๐๐ บาท; ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง.

ก้านต่อดอก

หมายถึงน. ชื่อวิธีร้อยดอกไม้เป็นตาข่าย; ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น แสนถวิลเทวษว้าอาวรณ์สมร ทุกข์ระทมกรมทรวงดั่งศรรอน จะนั่งนอนมีแต่พรํ่ากำสรวลครวญ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ