ค้นเจอ 212 รายการ

ดิรัจฉาน

หมายถึง[-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคำด่า), ใช้ว่า เดรัจฉาน หรือ เดียรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).

กรรตุสัญญา

หมายถึง[กัดตุ-] น. นามที่เป็นคำร้องเรียกชื่อลอย ๆ เช่น แล้วกล่าววาจาอันสุนทร ดูก่อนกุมภกรรณยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑). (ป. สญฺา = นาม, ชื่อ).

กัตรทัณฑ์

หมายถึง[กัดตฺระ-] (แบบ) น. ไม้เท้าคนแก่ เช่น แล้วทรงธารพระกรกัตรทัณฑ์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. กตฺตร = คนแก่ + ทณฺฑ = ไม้เท้า; ส. กรฺตฺร + ทณฺฑ).

แหนบ

หมายถึง[แหฺนบ] น. เครื่องสำหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สำหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืนเป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่างแหนบ, เอานิ้วมือบีบทำนองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัดไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมายความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).

กัตติกา

หมายถึง[กัด-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๓ มี ๘ ดวง เห็นเป็นรูปธงสามเหลี่ยม มีหางเรียวยาว, ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่ ก็เรียก, (โบ) เขียนเป็น กฤติกา ก็มี. (ป. กตฺติกา; ส. กฺฤตฺติกา).

ไซ

หมายถึงน. ชื่องูชนิด Enhydris bocourti ในวงศ์ Colubridae ตัวอ้วนสั้น หัวโต อาศัยตามริมน้ำหรือในน้ำเพราะกินปลาเป็นอาหารหลัก มีพิษอ่อนมากและไม่ปรากฏปฏิกิริยาต่อผู้ถูกกัด.

เดียรัจฉาน

หมายถึง[-รัดฉาน] น. สัตว์เว้นจากมนุษย์ เช่นหมู หมา วัว ควาย (มักใช้เป็นคำด่า), ใช้ว่า ดิรัจฉาน หรือ เดรัจฉาน ก็มี. (ป. ติรจฺฉาน ว่า ขวาง, ติรจฺฉานคต ว่า สัตว์มีร่างกายเจริญโดยขวาง).

แว้ง

หมายถึงก. อาการที่เอี้ยวหัวหรืออวัยวะบางส่วนโดยเร็วเพื่อกัดหรือทำร้ายเป็นต้น เช่น ควายแว้งขวิด จระเข้แว้งหางฟาดเรือล่ม, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เตือนดี ๆ มาแว้งเอาได้.

ปูน

หมายถึงน. หินปูนหรือเปลือกหอยเมื่อถูกเผาจนสลายตัว, ปูนกินกับหมากหรือปูนแดง ในคำเช่น ป้ายปูน ปูนกัดปาก, ปูนขาว ในคำว่า ฉาบนํ้าปูน; ปูนซีเมนต์ ในคำเช่น เทปูน โบกปูน.

แทะ

หมายถึงก. เอาหน้าฟันกัดให้หลุดออกมาทีละน้อย ๆ, เล็มกินทีละน้อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกไม่ทำมาหากินมาคอยแทะเงินพ่อแม่.

ตีแปลง

หมายถึง[-แปฺลง] ก. ทำดินโคลนให้เป็นแอ่งสำหรับนอนเกลือก (ใช้แก่ควาย หมู); อาการที่ปลากัดต้นไม้เช่นต้นข้าวสำหรับวางไข่; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น นอนตีแปลง.

ด่าง

หมายถึงน. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สำหรับทำยาและกัดสิ่งของ; (วิทยา) สารประกอบจำพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลายนํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ