ค้นเจอ 641 รายการ

บรรพชา

หมายถึง[บันพะ-, บับพะ-] น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ อุปสมบท บรรพชา หมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ. ก. บวช เช่น บรรพชาเป็นสามเณร. (ป. ปพฺพชฺชา; ส. ปฺรวฺรชฺยา).

ประดา

หมายถึงว. บรรดา, ทั้งหมด, ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ เต็ม เป็น เต็มประดา หมายความว่า เต็มที. ก. เรียงหน้ากันเข้าไป.

หายตัว

หมายถึงก. ทำให้ไม่เห็นตัว เช่น บางคนเชื่อว่ามีเวทมนตร์ทำให้หายตัวได้, มักใช้คู่กับ ล่องหน เป็น ล่องหนหายตัว หมายความว่า ไม่ปรากฏตัวให้เห็น; โดยปริยายหมายความว่า หลบลี้หนีหน้า เช่น เผลอแผล็บเดียวเขาก็หายตัวไปแล้ว, หายหน้า หรือ หายหัว ก็ว่า.

อ่อง

หมายถึงว. ใช้เข้าคู่กับคำ เอี่ยม เป็น เอี่ยมอ่อง หมายความว่า ใหม่, สดใส, ผุดผ่อง, เปล่งปลั่ง, ไม่หมองมัว.

อันเต,อันโต

หมายถึงคำใช้เป็นส่วนหน้าสมาส หมายความว่า ภายใน.

อินทรวิเชียร

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๑ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีลีลาอันรุ่งเรืองงดงามดุจสายฟ้าซึ่งเป็นอาวุธของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ และที่ ๔ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ แต่เดิมไม่นิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ เช่น แต่ต่อมานิยมสัมผัสระหว่างคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ กับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ อย่างเดียวกับกาพย์ยานี ๑๑ เพราะถือว่าไพเราะ เช่น

หมายถึง[นะ] บ. ใน, ที่, เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้, ถ้าใช้นำหน้าสกุล หมายความว่า แห่ง เช่น ณ อยุธยา ณ ระนอง.

ดิบดี

หมายถึง[ดิบ-] ว. ดี, เรียบร้อย, เช่น เก็บไว้ดิบดี, บางทีใช้แยกกัน หมายความว่า ดี เช่น ได้ดิบได้ดี.

ดีดัก,-ดีดัก

หมายถึงใช้เข้าคู่กับคำ หลายปี เป็น หลายปีดีดัก หมายความว่า นานมาแล้ว.

ตะเหลนเป๋น

หมายถึงว. ใช้ประกอบคำ สูง หรือ ยาว หมายความว่า สูงผิดส่วน ยาวผิดส่วน.

ตาราง

หมายถึงน. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคำนำหน้าคำมาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส.

เต็มตา

หมายถึงว. ใช้แก่กริยานอน หมายความว่า นอนอิ่ม เช่น นอนเต็มตา, ใช้แก่กริยาเห็น หมายความว่า เห็นชัด เช่น เห็นเต็มตา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ