ค้นเจอ 320 รายการ

บุพบท

หมายถึงน. คำชนิดหนึ่งในไวยากรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมคำต่อคำ อยู่หน้านาม สรรพนาม หรือกริยา มีคำว่า ด้วย โดย ใน เป็นต้น เช่น เขียนด้วยดินสอ หนังสือของฉัน กินเพื่ออยู่.

กระดาษ

หมายถึงน. วัตถุเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมากทำจากใยเปลือกไม้ ฟาง หญ้า หรือ เศษผ้า เป็นต้น ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือหรือห่อของและอื่น ๆ.

กรรตุวาจก

หมายถึง[กัดตุ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรตุการกคือผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรตุการกคือเป็นผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เช่น ครูเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ทำ) ครูให้นักเรียนเขียนหนังสือ (ประธานเป็นผู้ใช้ให้ทำ). (ป., ส. วาจก ว่า ผู้กล่าว).

มุ

หมายถึงก. ตั้งใจเอาจริงเอาจัง เช่น มุดูหนังสือ มุสู้ มุจะเอาชนะให้ได้, มักใช้เข้าคู่กับคำ มานะ เป็น มุมานะ เช่น เขามุมานะทำงาน.

ปรู๊ฟ

หมายถึง[ปฺรู๊บ] น. เรียกกระดาษที่ใช้พิมพ์หนังสือ มีคุณภาพตํ่ากว่ากระดาษปอนด์และกระดาษอาร์ต ว่า กระดาษปรู๊ฟ; งานพิมพ์เป็นต้นเพื่อตรวจสอบความถูกต้องเรียบร้อย. (ปาก) ก. พิสูจน์อักษร.

หมาย

หมายถึงน. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคำสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงานสั่งให้กระทำการ หรือห้ามกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกำหนด เช่น หมายหัวกระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.

เมื่อย

หมายถึงก. อาการเพลียของกล้ามเนื้อเมื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำ ๆ อยู่เป็นเวลานาน เช่น เดินอยู่นานจนเมื่อย เมื่อยมือเพราะเขียนหนังสือนาน.

เสียเวลา

หมายถึงก. ใช้เวลาหมดไป เช่น วันหนึ่ง ๆ เขาเสียเวลาคอยรถประจำทางเป็นชั่วโมง, โดยปริยายหมายความว่า หมดเวลาไปโดยไม่ได้ประโยชน์คุ้ม เช่น หนังสือเล่มนี้เสียเวลาอ่าน.

ภาค,ภาค-

หมายถึง[พาก, พากคะ-] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษาภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้านการปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).

โต๊ะ

หมายถึงน. สิ่งที่ทำด้วยไม้เป็นต้น พื้นราบ เป็นรูปต่าง ๆ มีขาสำหรับเป็นที่เขียนหนังสือ ตั้งเครื่องบูชา หรือ วางสิ่งของต่าง ๆ เรียกชื่อต่าง ๆ ตามวัตถุที่ทำ เช่น โต๊ะหิน โต๊ะมุก ตามรูปร่าง เช่น โต๊ะกลม โต๊ะสี่เหลี่ยม ตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ เช่น โต๊ะเขียนหนังสือ โต๊ะกินข้าว, ลักษณนามว่า ตัว ถ้าเป็นโต๊ะอาหารจีนเป็นชุด ลักษณนามว่า โต๊ะ.

สะเพร่า

หมายถึง[-เพฺร่า] ว. อาการที่ทำอย่างหวัด ๆ ลวก ๆ, ขาดความรอบคอบ, ไม่ถี่ถ้วน, ไม่เรียบร้อย, เช่น เขียนหนังสือสะเพร่าตก ๆ หล่น ๆ ล้างแก้วสะเพร่า ไม่สะอาด.

ฟุลสแก๊ป

หมายถึง[ฟุนสะ-] น. กระดาษสีขาว มีเส้นบรรทัด ขนาดประมาณ ๔๓ ๓๔ เซนติเมตร พับทบกลางใช้สำหรับเขียนหนังสือเป็นต้น. (อ. foolscap).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ