ค้นเจอ 140 รายการ

อาราธนาศีล

หมายถึงก. ขอให้พระภิกษุหรือสามเณรให้ไตรสรณคมณ์และศีล โดยกล่าวคำเป็นภาษาบาลีว่า มยํ ภนฺเต ติสรเณน สห ... สีลานิ ยาจาม.

คาถาพัน

หมายถึงน. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถาภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วน ๆ อย่างนี้ว่า เทศน์คาถาพัน.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๓ นับเป็นพวกอักษรตํ่า และเป็นตัวที่สุดของวรรคที่ ๒ ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ปัญญา สัญชาติ ผจญ โคโลญ.

กระสวน

หมายถึงน. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.

อนุ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.

หมายถึงในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปลือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิดในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้ง หมายถึง พราหมณ์, นก.

อภิ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ยิ่ง, วิเศษ, เหนือ, เช่น อภิรมย์ = ยินดียิ่ง, อภิญญาณ = ความรู้วิเศษ, อภิมนุษย์ = มนุษย์ที่เหนือมนุษย์ทั้งหลาย. (ป.).

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

มดี

หมายถึง[มะ-] คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนามในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระ อิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง. (ป., ส. มตี).

สนธิ

หมายถึงน. ที่ต่อ, การติดต่อ; การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกันตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น พจน + อนุกรม เป็น พจนานุกรม ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ นว + อรห + อาทิ + คุณ เป็น นวารหาทิคุณ. (ป., ส.).

พฤทธิ์

หมายถึง[พฺรึด] น. ความเจริญ, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์, ความอวบ, พฤฒิ ก็ใช้; ในไวยากรณ์หมายถึงเสียงยาวที่สุดของสระต่าง ๆ คือ ในบาลีและสันสกฤตได้แก่ อา เป็นพฤทธิ์ของ อะ เป็นต้น. ก. กระทำสระให้ยาวเช่นนั้น. (ส. วฺฤทฺธิ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ