ค้นเจอ 140 รายการ

อรรถกถา

หมายถึง[อัดถะกะถา] น. คัมภีร์ที่อธิบายความพระบาลี, คัมภีร์ที่ไขความพระไตรปิฎก. (ส. อรฺถ + กถา; ป. อตฺถกถา, อฏฺกถา).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนอย่างตัว น ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล.

ธรรมคุณ

หมายถึงน. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ. (ส.; ป. ธมฺมคุณ).

ฉายา

หมายถึงน. เงา, ร่มไม้. (ป.); ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ. (ป., ส.).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ จอร์จ.

กรุยกราย

หมายถึงว. เดินทำทีท่าเจ้าชู้; มีท่าทางหยิบหย่ง, ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทำฉุยไป. (สุภาษิตสุนทรภู่).

พยติเรก

หมายถึง[พะยะติเหฺรก] ว. แปลกออกไป; ในไวยากรณ์ใช้เป็นชื่อประโยคใหญ่ที่แสดงเนื้อความแย้งกัน; ชื่อนิบาตในภาษาบาลีพวกหนึ่ง. (ป., ส. วฺยติเรก).

สมาส

หมายถึง[สะหฺมาด] น. การเอาศัพท์ตั้งแต่ ๒ ศัพท์ขึ้นไปมาต่อกันเป็นศัพท์เดียวตามหลักที่ได้มาจากไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สุนทร + พจน์ เป็น สุนทรพจน์ รัฐ + ศาสตร์ เป็น รัฐศาสตร์ อุดม + การณ์ เป็น อุดมการณ์. (ป., ส.).

จุลวงศ์

หมายถึง[จุนละ-] น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.

ปฐมบุรุษ

หมายถึง[ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลีหมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๑๐ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น ราช คช กริช แซนด์วิช.

ยามักการ

หมายถึงน. ชื่อเครื่องหมายบังคับให้อ่านพยัญชนะควบ มีรูปดังนี้ ๎ ใช้ในหนังสือบาลีรุ่นเก่า เช่น กต๎วา ทิส๎วา ในปัจจุบันใช้เครื่องหมายพินทุแทน เป็น กตฺวา ทิสฺวา.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ