ค้นเจอ 219 รายการ

กรกช

หมายถึง[กอระกด] (กลอน) น. “ดอกบัวคือมือ” คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).

พาหนะ

หมายถึง[-หะนะ] น. เครื่องนำไป, เครื่องขับขี่, สัตว์สำหรับขี่บรรทุกหรือลากเข็นมีช้าง ม้า โค กระบือเป็นต้น เรียกว่า สัตว์พาหนะ, ยานต่าง ๆ มีรถและเรือเป็นต้น เรียกว่า ยานพาหนะ. (ป., ส. วาหน).

สินธุ

หมายถึงน. ลำนํ้า, แม่นํ้า, สายนํ้า, นํ้า, ทะเล, มหาสมุทร, ใช้ว่า สินธุ์ หรือ สินธู ก็มี เช่น สุวรรณหงส์เหินเห็จฟ้า ชมสินธุ์ (พยุหยาตรา), สินสมุทรสุดรักพระธิดา เอาใส่บ่าแบกว่ายสายสินธู. (อภัย); ชื่อแม่นํ้าสำคัญสายหนึ่งในชมพูทวีป ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดียและปากีสถาน. (ป., ส.).

คราส

หมายถึง[คฺราด] ก. กิน เช่น จันทรคราส สุริยคราส (โบราณ เขียนเป็น จันทรคาธ สุริยคาธ โดยถือว่ามาจากบาลีว่า จนฺทคฺคาห สุริยคฺคาห); จับ, ถือ, เช่น สิบนิ้วคราสคนธกำจร เทียนธูปบวร. (สมุทรโฆษ). (ส.).

ทันตชะ

หมายถึง[ทันตะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. ทนฺตวฺย).

กราน

หมายถึง[กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.

ทุตวิลัมพิตมาลา

หมายถึง[ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กำหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.

วามาจาร

หมายถึงน. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทำนองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติในลัทธินี้ว่า วามาจาริน. (ส.).

แตรวงโยธวาทิต

หมายถึง[-โยทะวาทิด] น. วงดนตรีทหารหรือตำรวจเป็นต้นซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ทำด้วยทองเหลือง จำพวกแตร เครื่องตี เช่น กลองใหญ่เล็ก และเครื่องลมต่าง ๆ มักจัดเป็นวงใหญ่ ใช้ในเวลากองทหารเดินและอื่น ๆ.

โอสถ,โอสถ-

หมายถึง[โอสด, โอสดถะ-] น. ยาแก้โรค, ยารักษาโรค; เครื่องยา; ในราชาศัพท์ใช้ตลอดจนถึงยาสูบและบุหรี่ เช่น พระโอสถเส้น พระโอสถมวน. (ป. โอสถ, โอสธ; ส. เอาษธ).

กฤษฎา,กฤษฎา,กฤษฎาญ,กฤษฎาญชลิต,กฤษฎาญชลี,กฤษฎาญชวลิตวา,กฤษฎาญชวลิศ,กฤษฎาญชวเลศ,กฤษฎาญชุลี

หมายถึง[กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด, -ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญกฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คำหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คำหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).

กสิณ

หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ