ค้นเจอ 219 รายการ

สงวน

หมายถึง[สะหฺงวน] ก. ถนอมรักษาไว้ เช่น เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ (โลกนิติ) สงวนมรดกของชาติ, หวงแหนไว้ เช่น สงวนเนื้อสงวนตัว สงวนลิขสิทธิ์ สงวนสิทธิ์. ว. ที่รักษาหวงแหนไว้ เช่น ป่าสงวน.

สวัสติ,สวาตี

หมายถึง[สะหฺวัดติ, สะวาตี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๕ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปช้างพัง เหนียงผูกคอสุนัข ดวงแก้ว หรือ กระออมนํ้า, ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม ก็เรียก. (ส. สฺวาติ).

ศาลอาญาศึก

หมายถึง(กฎ) น. ศาลที่ตั้งขึ้นเมื่อหน่วยทหารหรือเรือรบอยู่ในยุทธบริเวณ เพื่อพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงซึ่งการกระทำผิดเกิดขึ้นในเขตอำนาจได้ทุกบทกฎหมายและไม่จำกัดตัวบุคคล.

อสัตถพฤกษ์,อัสสัตถพฤกษ์

หมายถึง[อะสัดถะพฺรึก, อัดสัดถะพฺรึก] น. ชื่อต้นไม้ที่พระโคตมพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ต้นแล้วได้ตรัสรู้ เรียกว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ต้นโพธิ์.

ตรีบูร

หมายถึงน. เมืองอันมีป้อมค่าย ๓ ชั้น, ๓ ชั้น เช่น เมืองสุโขทัยนี้ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา. (จารึกสยาม), อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร. (กำสรวล). (ส. ตฺริปุร ว่า ป้อม ๓ ชั้น).

ศิลป์

หมายถึง[สิน] (กลอน) น. ศร เช่น งามเนตรดังเนตรมฤคมาศ งามขนงวงวาดดังคันศิลป์. (อิเหนา), พิศพักตร์ผ่องพักตร์ดั่งจันทร พิศขนงก่งงอนดั่งคันศิลป์. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

อาวาห,อาวาห-,อาวาหะ

หมายถึง[อาวาหะ-] น. “การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน” หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนำหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).

เทววาจิกะ

หมายถึงว. ที่ทำด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียกสรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่งที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.

กด

หมายถึงน. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า แม่กด หรือ มาตรากด.

กำเลา

หมายถึง(แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ). (ข. กํเลา จาก เขฺลา).

ไร่

หมายถึงน. ที่ปลูกพืชและต้นไม้บนไหล่เขาหรือในที่ดอน, พื้นที่ราบที่ใช้ปลูกพืชอื่น ๆ นอกจากข้าว เช่น ไร่ฝ้าย ไร่องุ่น ไร่แตงโม; จำนวนเนื้อที่ ๔ งาน หรือ ๔๐๐ ตารางวา หรือ ๑,๖๐๐ ตารางเมตร.

จัตวา

หมายถึง[จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๋ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ