ค้นเจอ 68 รายการ

ติดตลก

หมายถึงก. เอาตัวตลกมาเล่นแทรกเพื่อให้ตัวละครหรือคนร้องพัก, มักพูดใช้สำนวนโวหารหรือแสดงท่าทางชวนให้คนหัวเราะขบขัน.

สำบัดสำนวน

หมายถึงก. พูดจาหลีกเลี่ยงไม่ให้เข้าใจตรง ๆ, ใช้คารมพลิกแพลง, เล่นลิ้น, เช่น อย่าสำบัดสำนวนให้มากนัก. น. สำนวน, คารมพลิกแพลง, เช่น เขาพูดมีสำบัดสำนวนมาก บทความของเขาเต็มไปด้วยสำบัดสำนวน.

กรุยกราย

หมายถึงว. เดินทำทีท่าเจ้าชู้; มีท่าทางหยิบหย่ง, ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทำฉุยไป. (สุภาษิตสุนทรภู่).

สะดุด,สะดุด,สะดุด ๆ

หมายถึงว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.

ไหนจะ

หมายถึงว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).

เสียเปล่า

หมายถึงก. เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า. ว. เสียแรงที่ (เป็นสำนวนใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น เป็นลูกผู้หญิงเสียเปล่า ไม่รู้จักการบ้านการเรือน มีสมองเสียเปล่า แต่ไม่รู้จักคิด.

สวิงสวาย

หมายถึง[สะหฺวิงสะหฺวาย] ก. อาการที่รู้สึกใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่า จะเป็นลม เช่น เดินฝ่าแดดนาน รู้สึกสวิงสวาย; โลดโผน, เกินพอดี, เช่น สำนวนสวิงสวาย เต้นรำสวิงสวาย.

กระสวน

หมายถึงน. แบบ เช่น อย่าคบพวกหญิงพาลสันดานชั่ว ที่แต่งตัวไว้จริตผิดกระสวน. (สุภาษิตสุนทรภู่); แบบตัวอย่างสำหรับสร้างหรือทำของจริง เช่น กระสวนเรือน กระสวนเสื้อ.

สู้ยิบตา

หมายถึง(สำ) ก. สู้จนถึงที่สุด, สู้ไม่ถอย, เช่น เขาสู้ยิบตาแม้ว่าจะสะบักสะบอมเพียงใดก็ไม่ยอมแพ้. (กร่อนมาจากสำนวนเกี่ยวกับการตีไก่ซึ่งถูกตีจนต้องเย็บตาว่า สู้จนเย็บตา).

หัวโขน

หมายถึงน. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยายหมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.

รุ่มร่าม

หมายถึงก. เกินพอดี, เกินที่ควรเป็น, เช่น หนวดเครารุ่มร่าม, ไม่กะทัดรัด, ไม่รัดกุม, เช่น แต่งหนังสือสำนวนรุ่มร่าม, ไม่เรียบร้อย เช่น กิริยารุ่มร่าม, ปรกติใช้เกี่ยวกับเสื้อผ้าเครื่องแต่งตัวที่ยาวหรือใหญ่เกินตัว เช่น แต่งตัวรุ่มร่าม.

ครอบจักรวาล

หมายถึง[คฺรอบ-] น. ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น "พี่นางแกล้งแปลงเรื่องให้เคืองพี่ สรวลซิกซี้กันเสียได้ไม่ไต่สวน จวนจะชื่นช่างมาคืนให้รัญจวน ออสำนวนพี่นางอย่างนี้ออ. (จารึกวัดโพธิ์)."

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ