ค้นเจอ 227 รายการ

สะดุด,สะดุด,สะดุด ๆ

หมายถึงว. ไม่ราบเรียบ (ใช้แก่ภาษาหนังสือทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง) เช่น เรียงความสำนวนนี้อ่านสะดุด ๆ, ตะกุกตะกัก เช่น เด็กคนนี้ยังอ่านหนังสือสะดุดมาก, ไม่สม่ำเสมอ เช่น เครื่องจักรเดินสะดุด ๆ.

ลงทุน

หมายถึงก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขาลงทุนโกนหัวแสดงละคร.

ลูกบท

หมายถึงน. เพลงเล็ก ๆ ที่บรรเลงต่อจากเพลงใหญ่; เรียกลิเกที่ผู้แสดงเป็นตัวพระตัวนางไม่เข้าเครื่องอย่างโขน ละครหรือลิเกทรงเครื่อง ว่า ลิเกลูกบท.

กรีดน้ำตา

หมายถึงว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยายเป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.

ย่อย

หมายถึงก. ทำเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วนใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียกละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มีราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.

ไหนจะ

หมายถึงว. สำนวนแสดงถึงความตัดพ้อต่อว่าด้วยความท้อใจเป็นต้น เช่น ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา. (เพลงฝรั่งรำเท้า พระราชนิพนธ์ ร. ๖).

เสียเปล่า

หมายถึงก. เสียไปโดยไม่ได้ประโยชน์ เช่น อย่าปล่อยเวลาให้เสียเปล่า. ว. เสียแรงที่ (เป็นสำนวนใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น เป็นลูกผู้หญิงเสียเปล่า ไม่รู้จักการบ้านการเรือน มีสมองเสียเปล่า แต่ไม่รู้จักคิด.

นาฏกรรม

หมายถึง[นาดตะกำ] น. การละครหรือการฟ้อนรำ; (กฎ) งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว และหมายความรวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย. (ส.).

เพลงเสมอ

หมายถึงน. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และการเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.

ร่าย

หมายถึงน. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ; ทำนองร้องอย่างหนึ่งของละครรำ เรียกว่า ร้องร่าย.

สวิงสวาย

หมายถึง[สะหฺวิงสะหฺวาย] ก. อาการที่รู้สึกใจหวิว วิงเวียน คลื่นไส้ ตาพร่า จะเป็นลม เช่น เดินฝ่าแดดนาน รู้สึกสวิงสวาย; โลดโผน, เกินพอดี, เช่น สำนวนสวิงสวาย เต้นรำสวิงสวาย.

หนาตา

หมายถึงว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ