ค้นเจอ 234 รายการ

กาโมทย

หมายถึง[-โมด] (แบบ) ว. เป็นที่ตั้งขึ้นแห่งความรัก, น่ารัก, เป็นที่เกิดแห่งความรัก, เช่น พรมงคลน้นนโสด แก่แก้วกาโมทยมหิษี กัลยาณีสาวสวรรค์ประเสริฐนั้น. (ม. คำหลวง ทศพร). (ป. กาม + อุทย).

แส้

หมายถึงน. ชื่ออุปกรณ์สำหรับปัดยุงหรือแมลง ทำด้วยขนหางม้า หรือทางจากที่ทุบปลายข้างหนึ่งเป็นเส้น เป็นต้น ลักษณะเป็นพู่ยาว มีด้าม; ชื่ออุปกรณ์สำหรับตีม้า ทำด้วยหวายหรือหนังสัตว์ถักหรือฟั่นเป็นเกลียว ยาวอย่างไม้เรียว เรียกว่า แส้ม้า, ไม้หรือเหล็กกลมยาวสำหรับกระทุ้งดินในลำกล้องปืนให้แน่น เรียกว่า แส้ปืน; ใช้ประกอบกับคำ สาว เป็น สาวแส้ หมายความว่า หญิงสาว.

ชอบ

หมายถึงก. พอใจ เช่น ชอบอ่านหนังสือ ชอบเที่ยว; ถูกต้อง เช่น คิดชอบ ชอบแล้ว; เหมาะ เช่น ชอบด้วยกาลเทศะ; ถูกใจ, ถูกกัน, เช่น เขาชอบกันมาก, บางทีใช้หมายความไปในเชิงว่ารักใคร่ ก็มี เช่น หนุ่มสาวชอบกัน; มีสิทธิ์ เช่น ชอบที่จะทำได้.

แต่งหน้า

หมายถึงก. ใช้เครื่องสำอางเสริมแต่งใบหน้าให้สวยขึ้น, ใช้เครื่องสำอางเสริมแต่งใบหน้าให้มีลักษณะต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับบทบาทในการแสดงละครเป็นต้น, ผ่าตัดตกแต่งใบหน้าให้ดูสวยหรือดูหนุ่มสาวขึ้น.

สั้น

หมายถึงว. ลักษณะส่วนหนึ่งของสิ่งใด ๆ มีกำหนดระยะยืดหรือยืนเป็นเส้นตรงจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่งน้อยกว่าอีกสิ่งหนึ่งเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เสื้อแขนสั้น กระโปรงสั้น ถนนสายนี้สั้นกว่าถนนสายอื่น ๆ, มีระยะเวลานานน้อยกว่าอีกช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น หน้าหนาวกลางวันสั้นกว่ากลางคืน.

กะริงกะเรียด

หมายถึง(โบ) ว. คำพ้อชนิดหนึ่งว่าทำเป็นหนุ่มเป็นสาวก่อนวัย คล้ายทำก้อร่อก้อติก เช่น เป็นหญิงเจ้าแม่อา อย่าทำกะริงกะเรียด ตัวเจ้ายังน้อยสักเท่าเขียด เจ้ามาวอนแม่จะมีผัว. (มโนห์รา).

ธรรมปฏิสัมภิทา

หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).

แซะ

หมายถึงแซว, หยอกล้อ

เชษฐ,เชษฐ-,เชษฐ-

หมายถึง[เชดถะ-] น. พี่ผู้เป็นใหญ่ เช่น เชษฐบุรุษ. (ป. เชฏฺ; ส. เชฺยษฺ). ว. “เจริญที่สุด”. (ส.; ป. เชฏฺ), (ราชา) ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐภาดา หมายถึง พี่ชาย, ถ้าใช้ว่า พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย.

กปณก

หมายถึง[กะปะนก] น. ผู้อนาถา, ผู้ไร้ญาติ, ผู้น่าสงสาร, เขียนเป็น กปนก ก็มี เช่น เถ้ากปนกแพนกพล้าว มีแม่ย้าวสาวศรหนึ่งน้นน. (ม. คำหลวง ชูชก). (ป. กปณ).

ยุบ

หมายถึงก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัวให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไลทำแหวน.

ย้อย

หมายถึงก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อยลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมากย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะเป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ