ค้นเจอ 93 รายการ

แล้ง

หมายถึงน. หน้านํ้าแห้ง, ฤดูไม่มีฝน, ในคำว่า หน้าแล้ง ฤดูแล้ง. ก. ไม่มี เช่น แล้งน้ำใจ, มีน้อย เช่น แล้งน้ำ แล้งกวี. ว. ไม่มี, มีน้อย, เช่น ฝนแล้ง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ แห้ง เป็น แห้งแล้ง เช่น แผ่นดินนี้นับวันจะแห้งแล้งเป็นทะเลทราย.

ท้าย

หมายถึงน. ส่วนที่อยู่สุดด้านหนึ่ง, ตรงข้ามกับ ด้านหัว เช่น ท้ายเรือ, ตรงข้ามกับ ด้านหน้า เช่น ท้ายวัง, ตรงข้ามกับ ต้น เช่น ท้ายฤดู.

จีวรกาลสมัย

หมายถึง(แบบ) น. คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร (งวดที่ ๑ ตั้งแต่วันมหาปวารณา คือ วันแรมคํ่าหนึ่งเดือน ๑๑ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒, งวดที่ ๒ ตั้งแต่วันมหาปวารณาไปจนหมดฤดูหนาว, งวดที่ ๑ เป็นของพระที่มิได้กรานกฐิน, งวดที่ ๒ เป็นของพระที่กรานกฐินแล้ว). (ป.).

หิม,หิม-,หิมะ

หมายถึง[หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุย ลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น; ฤดูหนาว. (ป., ส.).

พัทธยา

หมายถึงน. เรียกลมที่พัดจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในต้นฤดูฝนว่า ลมพัทธยา.

ตะโก้

หมายถึงน. ชื่อลมทะเลพัดจากทิศตะวันตกเฉียงเหนือมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ มักมีในปลายฤดูฝน, ลมพัดหลวง ก็เรียก.

อุตรา

หมายถึง[อุดตฺรา] น. เรียกลมชนิดหนึ่งพัดจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในต้นฤดูร้อน ว่า ลมอุตรา.

เข้าพรรษา

หมายถึงน. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจำพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. ก. เข้าอยู่ประจำที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).

เหย่อย

หมายถึง[เหฺย่ย] น. การเล่นเพลงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ผู้เล่นร้องกลอนสดและรำประกอบ ภายหลังมีกลองยาวประกอบด้วย มักเล่นในบางเทศกาลเช่นฤดูเกี่ยวข้าว.

สมสู่

หมายถึงก. ร่วมประเวณี (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เขาไปสมสู่กันเอง สมสู่อยู่กินกันฉันผัวเมีย, บางทีก็ใช้กับสัตว์บางชนิด เช่น เดือน ๑๒ เป็นฤดูที่สุนัขสมสู่กัน.

แคแสด

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Spathodea campanulata Pal. ในวงศ์ Bignoniaceae ใบเป็นพุ่มหนา ดอกสีแสด ออกดอกในฤดูหนาว.

ขัน

หมายถึงก. อาการร้องอย่างหนึ่งของไก่หรือนกบางชนิด เฉพาะในตัวผู้ เช่น ไก่ ไก่ฟ้า นกเขา ใช้เป็นสัญญาณติดต่อสื่อสารในสัตว์ประเภทเดียวกัน จะร้องมากในระหว่างฤดูผสมพันธุ์ หรือในเวลาจำเพาะเช่นเช้าตรู่.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ