ค้นเจอ 121 รายการ

โอ่ง

หมายถึงน. ภาชนะสำหรับขังนํ้า ก้นสอบเล็กน้อย ปากกว้าง มีขนาดต่าง ๆ กัน, บางทีก็เรียกว่า ตุ่ม.

วัดแดด

หมายถึงก. สอบเวลาโดยอาศัยเงาแดดและสถานที่เป็นหลัก เช่นพอแดดถึงนอกชานก็เป็นเวลา ๘.๐๐ น.

สำหาอะไร

หมายถึงว. นับประสาอะไร, จะพูดไปทำไมมี, จะกล่าวไปทำไม, เช่น เรียนชั้นมัธยมยังสอบตก สำหาอะไรจะไปเรียนมหาวิทยาลัย, สำมะหาอะไร ก็ว่า.

กันเชอ

หมายถึงน. ภาชนะสานคล้ายกระจาดขนาดเล็ก แต่สูงกว่า ก้นสอบ ปากกว้าง ใช้กระเดียด, กระเชอ ก็เรียก.

เข้าพุง

หมายถึง(ปาก) ก. (โบ) จำได้แม่นยำจนไม่ต้องอาศัยตำราสอบทาน; ใช้ในความว่า ลืมความรู้ที่ได้เล่าเรียนมาหมด ก็มี.

ปอด

หมายถึงว. ลักษณะก้นที่สอบและแฟบ เรียกว่า ก้นปอด, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น มะม่วงก้นปอด.

หมายหน้า

หมายถึงก. ประมาทหน้า, ดูถูก, เช่น หมายหน้าไว้ว่าจะต้องสอบตกแน่ ๆ; ตราหน้า เช่น เขาถูกหมายหน้าว่าเป็นคนไม่ดี.

ยันกัน

หมายถึงก. พิสูจน์ต่อหน้าให้รู้ข้อเท็จจริง เช่น เอาพยานมายันกัน, สอบข้อมูลหรือรายการให้ตรงกัน เช่น เอาบัญชีมายันกัน.

ชันสูตร

หมายถึง[ชันนะสูด] ก. ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุหรือหลักฐานข้อเท็จจริง เช่น ชันสูตรบาดแผล ชันสูตรพลิกศพ, สอบสวนโดยเหตุผล.

เปอร์เซ็นต์

หมายถึงน. จำนวนที่เทียบเป็นส่วนร้อยหรือร้อยละ, การคิดเทียบเป็นส่วนร้อย เรียกว่า ร้อยละ หรือ ต่อร้อย ใช้เครื่องหมาย % แทน เช่น นักเรียนโรงเรียนนี้สอบได้ ๗๐ % คือ สอบได้ ๗๐ คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด ๑๐๐ คน เด็กคนนี้สอบได้ ๘๐ % คือ ได้คะแนน ๘๐ คะแนน จากคะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน; (ปาก) ค่านายหน้า, ค่าตอบแทนในการติดต่อซื้อขายเป็นต้น, เช่น ได้เปอร์เซ็นต์ ให้เปอร์เซ็นต์.

สัมภาษณ์

หมายถึงก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือวิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจากอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้าสอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คำพูดให้ตรงกัน).

เยาะ

หมายถึงก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ