ค้นเจอ 340 รายการ

สัทอักษร

หมายถึง[สัดทะอักสอน] น. อักษรและเครื่องหมายที่กำหนดใช้แทนเสียงประเภทต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์แทนเสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ และเครื่องหมายพิเศษแทนการออกเสียงอื่น ๆ. (อ. phonetic alphabet).

สู้คน

หมายถึงก. มีใจกล้าไม่ยอมแพ้ใคร เช่น เขาเป็นคนสู้คน, บางทีก็ใช้เรียกคนที่ขี้ขลาดไม่ยอมสู้ใครว่า เป็นคนไม่สู้คน.

หน้าตูม

หมายถึงว. มีสีหน้าแสดงอาการไม่พอใจ เช่น เธอโกรธใครมาหน้าตูมเชียว.

ตจปัญจกกรรมฐาน

หมายถึง[ตะจะปันจะกะกำมะถาน] น. กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์ คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตั้งแต่ผม ขน เล็บ ฟัน ไปถึงหนังเป็น ๕ อย่าง. (ป.).

หน้าไม่รับแขก

หมายถึงน. หน้าตาที่เฉยเมยคล้ายกับว่าไม่ต้องการต้อนรับใคร อาจเป็นปรกติหรือเป็นบางโอกาสก็ได้.

เสียงกร้าว

หมายถึงว. อาการที่พูดด้วยเสียงแข็งกระด้าง เช่น เขาพูดเสียงกร้าว ไม่ยำเกรงใคร.

ยศช้างขุนนางพระ

หมายถึง(สำ) น. ยศที่ไม่สำคัญ ไม่จริงจัง และไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ใครได้.

ปาฏิหาริย์

หมายถึง[-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).

หันหน้า

หมายถึง(สำ) ก. พึ่งพาอาศัย เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร.

เห็นดีกัน

หมายถึงก. เห็นว่าใครจะมีฝีมือหรือความสามารถเป็นต้นมากกว่ากัน (มักใช้ในทางท้าทาย) เช่น สักวันหนึ่งจะต้องเห็นดีกัน.

ปฤจฉาสรรพนาม

หมายถึง(ไว) น. คำแทนชื่อที่เป็นคำถาม เช่นคำ “ใคร” ฯลฯ.

คำเทียบ

หมายถึงน. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่ กง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ