ค้นเจอ 310 รายการ

ลามปาม

หมายถึงว. ต่อเนื่องไปถึงสิ่งอื่นหรือคนอื่นด้วย เช่น ด่าลามปามไปถึงบุพการี, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น ซึ่งแสดงว่าไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง เช่น พูดจาลามปาม แสดงกิริยาลามปามผู้ใหญ่.

เจ้าหล่อน

หมายถึงส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คำใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อยในบุรุษที่ ๓.

หัวหงอก

หมายถึง[-หฺงอก] น. หัวที่มีผมเปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว, โดยปริยายหมายถึงคนแก่, เมื่อใช้เข้าคู่กับคำ หัวดำ เป็น หัวหงอกหัวดำ หมายถึง ทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย.

เสียหลัก

หมายถึงก. ผิดไปจากหลักการ หลักเกณฑ์ หรือความถูกต้องเป็นต้น เช่น เป็นผู้ใหญ่มีคนเขานับถือ ทำสิ่งใดอย่าให้เสียหลัก; ซวดเซ, พลาดท่า, ทรงตัวไม่ได้, เช่น คนเมาเสียหลักเลยพลัดตกลงไปในคลอง.

ย้อน

หมายถึงก. หวนกลับ เช่น ย้อนไป ย้อนมา ย้อนกลับบ้าน, ทวนกลับ เช่น ย้อนเกล็ด ย้อนหลัง, พูดสวนตอบ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เด็กย้อนผู้ใหญ่ ลูกย้อนแม่.

ปาว ๆ

หมายถึงว. อาการที่พูดดัง ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่ไม่มีใครสนใจฟัง เช่น ครูสอนอยู่ปาว ๆ มีคนมาตะโกนเรียกอยู่ปาว ๆ.

ศาสน,ศาสน-,ศาสนา

หมายถึง[สาสะนะ-, สาดสะนะ-, สาดสะหฺนา] น. ลัทธิความเชื่อถือของมนุษย์อันมีหลัก คือแสดงกำเนิดและความสิ้นสุดของโลกเป็นต้น อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประการหนึ่ง แสดงหลักธรรมเกี่ยวกับบุญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรมประการหนึ่ง พร้อมทั้งลัทธิพิธีที่กระทำตามความเห็นหรือตามคำสั่งสอนในความเชื่อถือนั้น ๆ. (ส. ศาสน ว่า คำสอน, ข้อบังคับ; ป. สาสน).

ศาสน์

หมายถึง(โบ) น. คำสั่ง, คำสั่งสอน, โดยปริยายหมายถึง พระราชหัตถเลขาทางราชการและลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เช่น พระราชศาสน์ สมณศาสน์. (ส.; ป. สาสน).

เกล้ากระผม

หมายถึงส. คำใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย พูดกับผู้ใหญ่ด้วยความเคารพมากหรือกับพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์, พูดสั้น ๆ ว่า เกล้า หรือเขียนย่อว่า เกล้าฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.

สโมสร

หมายถึง[สะโมสอน] น. ที่สำหรับร่วมประชุมคบหากัน เช่น สโมสรข้าราชการ สโมสรทหารบก. ก. ร่วมชุมนุมกัน เช่น ไปร่วมสโมสร. (ป. สโมสรณ; ส. สมวสรณ).

เจ้า

หมายถึงน. คำนำหน้าชื่อเพื่อแสดงว่าเป็นเชื้อสายเจ้านายฝ่ายเหนือ เช่น เจ้าดวงเดือน; คำนำหน้าที่ผู้ใหญ่เรียกเด็กหรือผู้น้อย เช่น เจ้าหนู เจ้าแดง เจ้านี่.

สุภาษิต

หมายถึงน. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ. (ส.; ป. สุภาสิต ว่า ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ